วันพุธที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2562

10 เหตุผลที่คนชอบทำธุรกิจด้วยแนวคิดของ Startup (ตอนจบ) โดย อาจารย์อ๊ะ(The Prince of Startup)

10 เหตุผลที่คนชอบทำธุรกิจด้วยแนวคิดของ Startup (ตอนจบ) โดย อาจารย์อ๊ะ(The Prince of Startup)

มาถึงเหตุผลที่ 10 เหตุผลสุดท้ายกันแล้วน่ะครับ! สำหรับบทความนี้ที่ถือว่าเป็นซี่รีย์ที่ยาวถึง 9 ตอนทีเดียว(ใครที่เพิ่งอ่านมาตอนจบตอนนี้ ผมแนะนำว่าให้ลองย้อนกลับไปอ่านบทความนี้ตั้งแต่ตอนที่ 1-8 ด้วยน่ะครับเพราะจะได้มีเนื้อหาครบรสและต่อเนื่องไม่เป็น(Piece by Piece)  กล่าวคือ "การเรียนรู้อะไรใหม่ๆ ก็ตามเราควรที่จะเรียนรู้ในภาพรวมทั้งหมดก่อนให้ถ่องแท้หรือเก็บเกี่ยวภาพรวมให้ได้มากที่สุด" เพราะเวลาที่เราจะลงลึกทางด้านใดก็ตามเราจะได้ไม่ถูกใครหลอกหรือถูกใครชี้นำในองค์ความรู้ใหม่ๆ ไปในทางที่ผิดเพียงเพราะเรามองภาพรวมไม่ออก!  และเรื่องราวของสตาร์ทอัพ(Startup) ก็เช่นกัน ถึงบทนี้ตอนจบผมเชื่อมั่นว่า ถ้าผู้อ่านค่อยๆ อ่านบทความของผมตั้งแต่บบทความแรกๆ ก็จะเข้าใจมุมมองของสตาร์ทอัพได้เพิ่มขึ้นอย่างแน่นอนไม่มากก็น้อยขอเพียงแต่ท่านผู้อ่านลองคิดทบทวนบทความของผมว่าอันไหนที่มีประโยชน์ก็ลองนำไปปฎิบัติใช้กันดู ส่วนอันไหนที่อยากจะลองพิสูจน์ดูด้วยตัวเองก่อนที่จะเชื่อผม ผมถือว่าสิ่งนั่นเป็นสิ่งที่ดีและท่านผู้อ่านทุกคนจะได้ไม่ต้องเชื่ออะไรง่ายๆ โดยที่ไม่ได้มีการพิสูจน์ด้วยตัวเองจากการที่คนอื่นเล่ามาฟังคนอื่นบอกมาโดยที่เราไม่ได้เห็นหรือพิสูจน์ด้วยตัวเองเสียก่อน!   เหล่านี้ผมถือว่าเป็นคุณสมบัติที่ดีของบุคคลที่จะมาทำธุรกิจสตาร์ทอัพน่ะครับ เพราะทุกอย่างคือการทดลองการทดสอบสมมุติฐานและประเมินผลลัพธ์อย่างเป็นกลางจนมีผู้กล่าวไว้ว่า สตาร์ทอัพ(Startup) คือ Experiment หรือ การทดลองนั่นเอง! ซึ่งมันเป็นวิทยาศาสตร์ไม่ใช่การใช้ไสยศาสตร์มนต์ดำแต่อย่างใด  ดังนั้น ในตอนจบนี้ผมจะพูดถึงเหตุผลสุดท้ายที่คนชอบทำธุรกิจด้วยแนวคิดของ Startup  กันโดยเหตุผลที่ว่านั้นคือ.......




เหตุผลที่ 10:  อยากทำสตาร์ทอัพเพราะต้องการที่จะรวยเร็ว! จริงหรือไม่? 


เหตุผลสนับสนุน:  เราปฎิเสธไม่ได้ว่าธุรกิจที่เป็นสตาร์ทอัพที่อดีตที่เติบโตมาในระยะเวลาไม่ถึง 10 ปี กลับมีมูลค่าของบริษัทที่ขึ้นแซงหน้าติดอันดับ 1 ใน 5 ของโลก เช่น เฟสบุ๊ค, Uber, Google, Micosoft, SpaceX,  แซงหน้าธุรกิจที่ดำเนินธุรกิจมาหลายสิบปีหรือร่วมจะร้อยปีของธุรกิจที่ดำเนินธุรกิจที่เป็นรูปแบบดั้งเดิม(Traditional) ในกลุ่มของอาหารเครื่องดื่ม, เครื่องใช้ไฟฟ้าหรือในอุตสาหกรรมยานยนต์โดยท่านผู้อ่านลองหาข้อมูลในการจัดอันดับมูลค่าแบรนด์ระดับโลกดูจากทุกสำนักเราก็จะพบข้อสรุปที่เหมือนกันคือใน TOP 10 อันดับแรกจะต้องมีบริษัทที่อดีตเคยมีแนวคิดการก่อตั้งเป็นธุรกิจแบบสตาร์ทอัพ (Startup) ติดอยู่ใน TOP 5 ทั้งสิ้น จึงอาจทำให้คนที่จะทำธุรกิจสตาร์ทอัพรุ่นหลังๆ ที่อยากจะทำธุรกิจสตาร์ทอัพเพราะ  "ต้องการที่จะรวยเร็ว" อย่างเลี่ยงไม่ได้อยู่ในจิตสำนึกของผู้ที่อยากทำธุรกิจสตาร์ทอัพจริงหรือไม่จริง? ลองอ่านความจริงด้านล่างนี้ดูน่ะครับ!

ความจริง:  ธุรกิจสตาร์ทอัพไม่ใช่เป็นธุรกิจที่รวยเร็วน่ะครับ!  หลายคนเข้าใจผิดว่าถ้ากระโดดเข้ามาแล้วต้องรวยเร็วอย่างแน่นอน.....อันนี้ผมว่าเข้าใจผิดอย่าง 100% น่ะครับ เพราะ Model ของธุรกิจสตาร์ทอัพไม่ได้เกิดขึ้นมาเพื่อการรวยเร็วแต่เกิดขึ้นมาเพราะต้องการเติบโตเร็วต่างหาก...คราวนี้ผลของการเติบโตมันเลยทำให้มีกระแสเงินเข้ามาในภายหลังหรือมีคนมาขอร่วมลงทุนในภายหลังซึ่งในความเป็นจริงในการบริหารกิจการธุรกิจสตาร์ทอัพในปีแรกหรือ 1-2 ปีแรก เราอาจจะไม่มีรายได้เลยก็ได้ครับและในปีที่ 3 เราเพิ่งจะคืนทุนส่วนปีที่ 4-5 เราถึงจะเติบโตอย่างก้าวกระโดดเป็น 100% หรือ 1,000% ก็เป็นได้ดังนั้น "ถ้าใครที่เข้ามาแล้วหวังว่า ปีแรกหรือเดือนแรกๆ ต้องรวยเร็ว" ผมว่าเราขายของออนไลน์ยังจะรวยเร็วกว่าการทำสตาร์ทอัพอีกครับ ดังนั้น "จงอย่าเข้าใจผิดว่าการทำสตาร์ทอัพแล้วจะต้องรวยเร็ว เพราะคุณอาจจะไม่มีเงินเดือนให้กับตัวเองหรือไม่มีเงินเดือนให้กับทีมงานในตอนแรกด้วยซ้ำครับ"  แต่อาจจะแลกเปลี่ยนเป็นจำนวนของหุ้นในบริษัทแทนซึ่งโดยธรรมชาติธุรกิจมันเป็นแบบนี้ครับแต่ถ้าเราทำไปสักระยะหนึ่งก็อาจมีนายทุนขนาดใหญ่เข้ามาขอซื้อกิจการของเราถึงวันนั้นเราค่อยกลับมาคิดว่ากลยุทธ์ที่จะออก(Exit Strategy)  ของเราจะหน้าตาเป็นอย่างไร?  ท่านผู้อ่านลองนึกภาพตามน่ะครับว่า ถ้ามีใครสักคนมาขอซื้อบริษัทของคุณมูลค่าหลายพันล้านเหรียญแล้วเราจะขายบริษัทให้กับคนๆ นั้นหรือไม่?  ถ้าเป็นเรา......คำตอบคือ "ไม่ขายครับ" คนที่ตอบคนนั้นคือ  มาร์ค ซัดเคอเบร์ค เจ้าของเฟสบุ๊ค ซึ่งตอนนั้น บริษัท Yahoo มาขอเข้าซื้อกิจการทั้งๆ ที่ ทุกคนในบริษัทเฟสบุ๊คยุให้ขายกิจการให้กับ Yahoo มีเพียง มาร์ค เท่านั้นที่บอกว่า Yahoo ประเมินมูลค่ากิจการ(Valuation) ของบริษัทเฟสบุ๊คต่ำเกินไป! ซึ่งก็เป็นจริงครับ เพียงไม่กี่ปีให้หลัง บริษัทเฟศบุ๊คก็ทะยายสู่บริษัทแสนล้านเหรียญทันที!

ดังนั้น  เหตุผลที่ 10:  อยากทำสตาร์ทอัพเพราะต้องการที่จะรวยเร็ว!  นั้นไม่น่าจะเป็นคำตอบของบุคคลที่กระโดดเข้ามาทำธุรกิจสตาร์ทอัพในตอนแรกแต่ในความเป็นจริง การทำธุรกิจสตาร์ทอัพนั้นเน้นที่การหาวิธีที่จะมุ่งการเติบโตของจำนวนผู้ใช้อย่างรวดเร็วจนมีรายได้(Revenue Model) ที่มากพอที่จะผลักดันให้ธุรกิจเติบโตในระยะเวลาที่รวดเร็วต่างหากถ้าเรามีจำนวนผู้ใช้งานหรือจำนวนลูกค้าของเราที่มากพอหรือเป็นการขยายธุรกิจของเราไปในกลุ่มอื่นๆ โดยใช้เทคโนโลยีหรือแนวคิดของ (Growth  Hacking) ในการทำการตลาดแบบต้นทุนต่ำและมุ่งขยายฐานลูกค้าออกไปอย่างรวดเร็วในแนวคิดการทำธุรกิจแบบสตาร์ทอัพ(Startup Way) นั่นเองซึ่งท่านผู้อ่านสามารถหาอ่านหลักการนี้ได้จากหนังสือของสตาร์ทอัพทั้งในประเทศและในต่างประเทศได้ทั่วไปนั่นเอง

สุดท้ายนี้ผมหวังว่า 10 เหตุผลที่คนชอบทำธุรกิจด้วยแนวคิดของ Startup บทความตอนยาวของผมนี้จะสามารถทำให้ท่านผู้อ่านทุกคนได้เห็นภาพกว้างและเหตุผลและความจริงทั้ง 2 ด้านของแนวคิดธุรกิจสตาร์ทอัพ(Startup) ที่ผมตั้งใจเขียนบทความนี้ขึ้นมาทั้ง 9 ตอนนี้ และผมเชื่อว่าทุกสิ่งบนโลกใบนี้มี 2 ด้านเสมอเสมือนเหรียญ 2 ด้าน ดังนั้นหน้าที่ของเราคือ "เราจะต้องรอบรู้ให้ครบทั้ง 2 ด้านให้เร็วที่สุด" และนำมันไปประยุกต์ใช้ในการทำธุรกิจของเราซึ่งไม่ว่า เราจะทำธุรกิจประเภทไหน ทั้งออนไลน์หรือที่มีหน้าร้านตลอดจนธุรกิจ SME ไปจนถึงธุรกิจที่มีขนาดใหญ่  แนวคิดของธุรกิจสตาร์ทอัพนี้ ยังคงสามารถนำไปปรับใช้ได้กับทุกธุรกิจได้เป็นอย่างดีเพราะทุกธุรกิจต้องมุ่งเน้นการเติบโตมิใช่แค่ใช้กลยุทธ์การทำกำไรแต่อย่างเดียว...แล้วพบกันใหม่ในบทความตอนใหม่ในครั้งหน้าน่ะครับ..อย่าลืมกดติดตามที่มุมบนขวาของ Website กันด้วยน่ะครับ! ขอบคุณมากครับ^^


สรุป 10 เหตุผลที่คนชอบทำธุรกิจด้วยแนวคิดของ Startup กันอีกครั้ง!!!

เหตุผลที่ 1: มันเริ่มต้นได้ง่ายเพราะมันเริ่มต้นจากไอเดียที่แก้ปัญหาให้กับผู้คน
เหตุผลที่ 2: สตาร์ทอัพสายเทคโนโลยีอนาคตน่าจะมีคนสนใจใช้แน่เลย
เหตุผลที่ 3: คนส่วนใหญ่คิดว่าทำสตาร์ทอัพแล้วจะสบายดูเท่ห์ไม่เหมือนใครน่าสนใจมาทำกันเถอะ!
เหตุผลที่ 4: คนส่วนใหญ่คิดว่าทำสตาร์ทอัพแล้วต้องคอยหาแหล่งทุนอยู่ร่ำไป?  มีทุนที่ไหนให้ไปขอให้หมด! แถมยังเจอหน้ากันซ้ำๆ ด้วยน่ะ 555
เหตุผลที่ 5: ผม/ฉัน/หนู  มีไอเดียที่เจ๋งมากเลยเพราะมันมาจาก Passion ของ  ผม/ฉัน/หนู อย่างแรงกล้า
เหตุผลที่ 6: คนที่ทำธุรกิจสตาร์ทอัพส่วนใหญ่อยากเป็นผู้นำในตลาดนั้นๆ (อยากเป็นตัวจริงครับ!)
เหตุผลที่ 7: คนรุ่นใหม่(และที่เพิ่งจบใหม่) ต้องการสร้างธุรกิจเป็นของตัวเองมากขึ้น(ไม่อยากทำงานประจำ)
เหตุผลที่ 8: อยากทำสตาร์ทอัพที่มีแนวคิดที่แปลกไม่มีใครทำเราอยากเป็นรายแรกๆ ที่บุกเบิกมัน!
เหตุผลที่ 9: ผมอยากทำสตาร์ทอัพที่ต่อยอดจากสิ่งที่ผมชำนาญ!
เหตุผลที่ 10: อยากทำสตาร์ทอัพเพราะต้องการที่จะรวยเร็ว! จริงหรือไม่?

หมายเหตุ: ก่อนที่จะนำแต่ละเหตุผลไปใช้งานอย่าลืมอ่านเหตุผลและความจริงในแต่ล่ะตอนให้เข้าใจกันก่อนในตอนที่ 1-8 น่ะครับ เราจะได้ไม่หลงประเด็นและรู้เท่าทันความคิดของตัวเองและความคิดของผู้อื่นเช่นกันครับ เพราะเหรียญมี 2 ด้านและรู้เขารู้เรารบร้อยครั้งย่อมชนะร้อยครั้ง และผู้ที่รู้เท่าทันตัวเองจะเป็นผู้ที่ประเสริฐที่สุดครับ

-ด้วยรัก-

อาจารย์อ๊ะ-สอนธุรกิจให้คิดแบบ Startup
(The Prince Of Startup)


"ถ้าชอบบทความนี้ ขอแค่ขอบคุณและเป็นกำลังใจให้ผมในการเขียนบทความต่อๆ ไปก็พอแล้วครับ  ส่วนใครชอบก็กดไลท์(Like) ใครใช่ก็กดแชร์(Share) ได้ครับผม^^"

See you again!

***ติดตาม อาจารย์อ๊ะได้จากช่องทางด้านล่างนี้ครับ

1เฟสบุ๊คส่วนตัว(Facebook Profile)

2.1 เฟสบุ๊คแฟนเพจ1 (Fanpage)
***เน้นเรื่องแรงบันดาลใจ

2.2 เฟสบุ๊คแฟนเพจ2 (Fanpage)
***เน้นเรื่องการสอนธุรกิจให้คิดแบบ Startup

3. ยูทูป(YouTube)

4.อินสตาแกรม(Instagram) 

5.Line@ เพื่อเป็น FC ของอาจารย์อ๊ะ(พิมพ์หา @ajarnah) มีด้วย กดแอดเพิ่มเพื่อนทักมาได้เลยครับ!


ปลถ้าอาจารย์อ๊ะ ถ่ายทอดสด Live เฟสบุ๊ควันไหนจะแจ้ง FC ทุกท่านให้ทราบล่วงหน้าอีกครั้งน่ะใน Line@ น่ะครับ แล้วพบกันครับ

ผลงานเขียนของอาจารย์อ๊ะกับหนังสือชื่อ The Power of Positive Inspiration(แต่งเป็นภาษาอังกฤษที่คนไทยสามารถอ่านเข้าใจได้ง่าย) 
กดดาวน์โหลด(Download) อ่านได้แล้ววันนี้ที่ลิงค์ด้านล่างนี้เลยครับ!












วันจันทร์ที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2562

10 เหตุผลที่คนชอบทำธุรกิจด้วยแนวคิดของ Startup (ตอนที่ 8) โดย อาจารย์อ๊ะ(The Prince of Startup)

10 เหตุผลที่คนชอบทำธุรกิจด้วยแนวคิดของ Startup (ตอนที่ 8) โดย อาจารย์อ๊ะ(The Prince of Startup)

เผลอแป๊บเดียวก็ถึงเหตุผลที่ 9 และเหตุผลที่ 10  กันแล้วน่ะครับ และสำหรับท่านใดที่เพิ่งอ่านเจอบทความของผมบทความนี้ก็สามารถลองย้อนกลับไปอ่านเหตุผลลำดับที่ 1-8 กันได้น่ะครับ รับรองว่าผมได้ตีแผ่ความจริง "แบบไม่เหมือนใครและไม่มีใครเหมือน" ใครจะยอมมานั่งเขียนบทความแบบนี้ละครับ ถ้าไม่เจอกับตัวเอง คงเล่าได้ลำบาก ครั้นจะไปแปลมาจากตำราต่างประเทศให้คนอ่าน คนอ่านก็ย่อมเบื่อแน่นอน เพราะบางเนื้อหามันก็วิชาการเกิ่น บางตำราก็ประยุกต์จากกรณีศึกษาจากต่างประเทศล้วนๆ พอมาเมืองไทยก็แอบมึนๆ งงๆ ว่าเราจะตามใครดี?  นั่งทะเลาะกับตัวเองไม่จบ แถมไปทะเลาะกับทีมงานของตัวเองอีก สุดท้าย "เลิกทำสตาร์ทอัพตัวนี้ดีกว่า ไปทำสตาร์ทอัพตัวอื่นกันเถอะ หรือว่าเรา Passion ยังไม่พอ หรือว่าจะเปลี่ยนใจเป็นนักลงทุนในสตาร์ทอัพดี(Venture Capital)  เพราะลงทุนในหุ้นอัตราผลตอบแทนเฉลี่ยที่ 10-20% ไปกลับต่อปี นานๆ จะเจอหุ้น 5 เด้งสักทีหรือหุ้นต่ำบาทก็ว่ากันไป แต่ถ้าลงทุนในสตาร์ทอัพ 10 บริษัท  ถ้ามันเจ๊งถึง 7 บริษัท แต่มีอยู่ 3 บริษัทที่รอดและมีเพียง 1 บริษัทที่สามารถเติบโตอย่างก้าวกระโดด 10-20 เท่า ทำให้สามารถ Cover ผลประกอบการของบริษัทที่เจ๊งได้.....แบบนี้ก็น่าเสี่ยงตามสไตล์นักลงทุน จริงหรือไม่จริง?

ความคิดแบบนี้จะเกิดขึ้นได้ "ถ้าเราทำสตาร์ทอัพมาสักพักใหญ่ ไม่ใช่พักผ่อนน่ะครับ 555" มาว่ากันต่อกับเหตุผลที่ 9 กันว่าจะโดนใจผู้อ่านที่เป็นสตาร์ทอัพมือใหม่ป้ายแดงหรือมือเก่าป้ายดำกันหรือเปล่า?

เหตุผลที่ 9:  ผมอยากทำสตาร์ทอัพที่ต่อยอดจากสิ่งที่ผมชำนาญ! 





เหตุผลสนับสนุน:   เป็นเรื่องปกติครับที่ผู้ก่อตั้ง(Founder หรือ Co-Founder) ของสตาร์อัพ(Startup) มักจะหยิบจับธุรกิจอะไรจากสิ่งที่พวกเขาหรือพวกเราคุ้นเคยเพราะรู้สึกว่ามันอุ่นใจมากกว่าทำในสิ่งที่เราไม่รู้ไม่คุ้นเคย ใครถนัดสตาร์ทอัพสายไหนก็จะวิ่งตรงไปสายนั้นด้วยความชำนาญ(Expert) เช่น สายการเงินดิจิตอล(Fin Tech) สายเทค(Tech) เน้นเทคโนโลยีสมัยใหม่, สาย Hardware Startup, สายสุขภาพ(Health Tech)  หรือสายที่เน้นนวัตกรรมสิทธิบัตรหรือความได้เปรียบที่ไม่แฟร์(Unfair Advantage) ที่เอามาเป็นตัวตัดสินว่าจะทำสตาร์ทอัพประเภทไหนอันนี้ก็ไม่ผิดน่ะครับ เพราะถือว่าเราเป็นผู้เชี่ยวชาญในตลาดนั้นๆ หรือผูกขาดในตลาดนั้นๆ  ทำให้เกิดความได้เปรียบในการทำสตาร์ทอัพของเรา

ความจริง: แต่ความจริงคือ "เราไม่จำเป็นต้องเป็นผู้ชำนาญการในสายสตาร์ทอัพนั่นๆ ก็ได้ครับ" ถึงจะเริ่มธุรกิจสตาร์ทอัพนั่นๆ ได้  เพราะอะไรเหรอครับ?  เพราะสตาร์ทอัพนั่น ไม่มีใครเก่งไปซะทุกเรื่องในตัวคนเดียวกันและเป็นเรื่องจริงที่ไม่ว่าเขียนอย่างไรอีกกี่สิบปีก็คือเรื่องจริง เรื่องที่ว่านั่นก็คือ "ทีมสตาร์ทอัพต้องประกอบไปด้วย 3 ส่วน

ส่วนที่ 1 เรียกว่าส่วนบริหารวิสัยทัศน์(Vision) หรือกำหนดทิศทางของธุรกิจดังนั้น ส่วนนี้ต้องเป็นคนที่มีทักษะการบริหารมากกว่าทักษะทางเทคนิคและที่สำคัญต้องสื่อสารให้คนอื่นฟังให้เข้าใจให้ได้สั้นๆ ว่าเรากำลังทำอะไร? ส่วนมากคนนี้จะเป็น Founder ครับ โดยไม่จำเป็นต้องเป็นผู้ชำนาญการทางด้านเทคนิคขอเพียงมีวิสัยทัศน์และกำหนดทิศทางให้เป็น

ส่วนที่ 2  เรียกว่าส่วนบริหารทีมงาน(Team Management) ส่วนนี้จะมีหน้าที่ควบคุมบริหารทรัพยากรที่มีให้สอดคล้องกับเป้าหมายของธุรกิจ (ส่วนมาก Founder กับ Co-Founder ยังคงเป็นส่วนนี้ถ้ายังไม่ได้เกิดการจ้างงาน)  เช่นควมคุม การขายการทำตลาดหรือการเงิน

ส่วนที่ 3 เรียกว่าส่วนของนักเทคนิคต่างๆ ไม่ว่าจะนัก Coding ,โปรแกรมเมอร์, นักพัฒนา Web, หรือ Application (ส่วนมากจะถูกจ้างงานออกไปครับ แรกๆ Founder อาจจะต้องทำ Coding เอง แต่สุดท้ายส่วนที่ 3 จะถูกกระจายการจ้างงานในที่สุดครับ เพราะ ไม่มี Founder คนไหนจะมีเวลามีนักเขียนโปรแกรมเองตลอดและมันเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำอย่างยิ่งครับ  ถ้านักโปรแกรมเมอร์เป็นผู้ก่อตั้งสตาร์ทอัพยิ่งต้องหาทีมมาเติมเต็มในส่วนงานนี้ให้เร็วที่สุดโดยคำนึงถึงการ Burn Budget ในแต่ละเดือนด้วยน่ะครับ

ดังนั้น เหตุผลที่ว่า "ผมอยากทำสตาร์ทอัพที่ต่อยอดจากสิ่งที่ผมชำนาญ"  ในที่สุดแล้วจะถูกเปลี่ยนไปเป็น  "ผมจะทำสตาร์ทอัพที่ผมเห็นจากวิสัยทัศน์ของผมแล้วว่ามันจะมีความต้องการในตลาดอันมหาศาลจากนี้ไป 2-5 ปี ครับ"  นี่แหล่ะ ถึงเรียกได้ว่า  "ลูกผู้ชายตัวจริงของวงการสตาร์ทอัพไทย ที่ไม่แพ้ชาติใดในโลก!  ครับ

***เตรียมพบกับภาคจบของบทความนี้ในตอนหน้าน่ะครับ ใครที่ยังไม่ได้กิดติดตามผมใน Blog นี้สามารถกดติดตามได้ที่บนมุมขวาบนน่ะครับ เพื่อที่จะได้อ่านบทความใหม่ๆ ของผมได้ก่อนใคร!

"ถ้าชอบบทความนี้ ขอแค่ขอบคุณและเป็นกำลังใจให้ผมในการเขียนบทความต่อๆ ไปก็พอแล้วครับ  ส่วนใครชอบก็กดไลท์ใครใช่ก็กดแชร์ได้ครับผม^^"

See you again!

***ติดตาม อาจารย์อ๊ะได้จากช่องทางด้านล่างนี้ครับ

1เฟสบุ๊คส่วนตัว(Facebook Profile)

2.1 เฟสบุ๊คแฟนเพจ1 (Fanpage)
***เน้นเรื่องแรงบันดาลใจ

2.2 เฟสบุ๊คแฟนเพจ2 (Fanpage)
***เน้นเรื่องการสอนธุรกิจให้คิดแบบ Startup

3. ยูทูป(YouTube)

4.อินสตาแกรม(Instagram) 

5.Line@ เพื่อเป็น FC ของอาจารย์อ๊ะ(พิมพ์หา @ajarnah) มีด้วย กดแอดเพิ่มเพื่อนทักมาได้เลยครับ!


ปลถ้าอาจารย์อ๊ะ ถ่ายทอดสด Live เฟสบุ๊ควันไหนจะแจ้ง FC ทุกท่านให้ทราบล่วงหน้าอีกครั้งน่ะใน Line@ น่ะครับ แล้วพบกันครับ

ผลงานเขียนของอาจารย์อ๊ะกับหนังสือชื่อ The Power of Positive Inspiration(แต่งเป็นภาษาอังกฤษที่คนไทยสามารถอ่านเข้าใจได้ง่าย) 
กดดาวน์โหลด(Download) อ่านได้แล้ววันนี้ที่ลิงค์ด้านล่างนี้เลยครับ!




วันพุธที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2562

10 เหตุผลที่คนชอบทำธุรกิจด้วยแนวคิดของ Startup (ตอนที่ 7) โดย อาจารย์อ๊ะ(The Prince of Startup)

10 เหตุผลที่คนชอบทำธุรกิจด้วยแนวคิดของ Startup (ตอนที่ 7) โดย อาจารย์อ๊ะ(The Prince of Startup)


เหตุผลที่ 8:  อยากทำสตาร์ทอัพที่มีแนวคิดที่แปลกไม่มีใครทำเราอยากเป็นรายแรกๆ ที่บุกเบิกมัน!





เหตุผลสนับสนุน:   ทุกครั้งที่เราจะเริ่มต้นหาไอเดียทำธุรกิจสตาร์ทอัพ(Startup) กันเรามักจะถูกครอบงำไอเดียหรือแนวความคิดของเราว่า "มันต้องใหม่มันต้องไม่มีใครทำมาก่อน"  เราจะเป็นรุ่นแรกที่บุกเบิกเราจะเป็นคนแรกหรือที่ภาษาสตาร์ทอัพชอบแซวกันว่า เราทุกคนย่อมมี  Moment  "ยูเรก้า" 555 มันช่างเป็นช่วงที่เลือดสูบฉีดได้ดีมากหรือสารแห่งความสุขที่เรียกว่า "เอ็นโดฟิน(Endophins)" จะออกมามากที่สุดในตอนที่เราคิดไอเดียอะไรออก ณ เวลานั้นเลยทีเดียว!

ความจริง:  ไอเดียสตาร์ทอัพ  "ไม่จำเป็นต้องแปลกใหม่เสมอไปครับ!"  ดังที่ผมได้เกริ่นไว้แล้วในตอนต้นในตอนที่ 1 ว่า เหตุผลที่ 1:  มันเริ่มต้นได้ง่ายเพราะมันเริ่มต้นจากไอเดียที่แก้ปัญหาให้กับผู้คน  แต่ก็ยังมีผู้คนอีกมากที่ทำสตาร์ทอัพทำไปทำมาแทนที่จะแก้ปัญหาให้กับผู้คนกลับเป็น "การแก้ปัญหาให้กับตัวเองไปซะงั้น"  อันนี้เรื่องจริงครับเพราะเรามักจะเอาตัวเองเป็นที่ตั้งซึ่งบางครั้งผมก็เป็นและไม่ได้เป็นครั้งเดียวด้วยครับต้องยอบรับว่าส่วนใหญ่ "เราจะมีความคิดที่เข้าข้างตัวเองเป็นซะส่วนใหญ่"  ดังนั้น เราต้องฝึกการทดลองภาคปฎิบัติของวิธีของแนวคิดของ Startup ดังนี้ (อันนี้ภาคบังคับน่ะครับ ลองไปทำกันดูน่ะครับ!)

1.  หาลูกค้ากลุ่มที่ตรงเป้าหมายแล้วให้สินค้าหรือบริการของเราไปลองใช้ดูจนครบ 1,000 คน(ตามทฤษฎี)  ใจเย็นๆและไม่ต้องตกใจครับเพราะในชีวิตจริง ถ้าเรามีลูกค้าที่สามารถทดลองการใช้ผลิตภันฑ์ของเรา 5-10 คนก็หรูแล้วครับ แล้วรีบประเมิน Feedback การใช้งานของลูกค้าให้เร็วที่สุดเพื่อนำไปสู่ข้อที่ 2 (ขั้นตอนนี้เรียกว่าการสร้าง (Build) การวัดผล (Measure) และการเรียนรู้(Learn) กล่าวคือ เป็นวงจรของ Lean Startup นั่นแหล่ะครับ! เพื่อไม่ให้เรา Burn ทรัพยากรไปมากกว่านี้ในขั้นตอนการสร้างผลิตภัณฑ์ขั้นต้นเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า กล่าวคือ "ถ้าเรามีลูกค้าจริงเพียงแค่รายเดียวที่พึ่งพอใจกับสินค้ากับบริการของเราย่อมดีกว่าการที่เรามีลูกค้ามากมายมหาศาลเป็นสิบเป็นร้อยเป็นพันคนในฐานข้อมูลเราแต่เรากลับพบว่า...ไม่มีใครที่เป็นลูกค้าจริงของเราเลยหรือแปลความได้ว่า "ไม่มีใครต้องการสินค้าหรือบริการของเราเลย" ทั้งๆ ที่เราพยายามบอกว่าของๆ เรามันดีมันเหนือกว่าคนอื่น จริงหรือไม่จริง? ลองทบทวนกันดูในประโยคที่ผมได้เขียนไปเมื่อสักครู่น่ะครับ..ซึ่งผมมั่นใจว่าในชีวิตจริงไม่มีใครกล้าบอกกับทุกท่านแบบนี้หรอกครับ พอรู้ตัวอีกทีลูกค้าของเราก็หายไปกับสินค้าหรือบริการของคนอื่นเป็นที่เรียบร้อยแล้วครับ!!!

2. รีบสร้างผลิตภัณฑ์ต้นแบบที่ตอบสนองความต้องการขึ้นต้นของลูกค้าของเราให้ได้ก่อนและเร็วที่สุดโดยภาษาสตาร์ทอัพจะเรียกมันว่า (MVP, Minimum Viable Product) แล้วนำไปทดสอบกับลูกค้าของเราให้เร็วที่สุดแล้วให้ลูกค้าช่วย Comment ร่วมกับเราให้ดูเหมือนว่าผลิตภัณฑ์หรือบริการนี้ลูกค้าได้มีการออกแบบร่วมกับเราตั้งแต่ต้นจนจบ คำถามต่อไปว่า "การมีส่วนร่วมของลูกค้าจะส่งผลอย่างไร? กับผลิตภัณฑ์สุดท้ายของเรา" คำตอบคือ "สุดท้าย ลูกค้าก็ต้องพึงพอใจกับผลิตภัณฑ์หรือบริการของเราสิครับเพราะลูกค้าได้มีส่วนร่วมตลอด ผิดกับวิธีการดั้งเดิมที่เรามักจะยัดเยียดผลิตภัณฑ์หรือบริการให้กับลูกค้าโดยเราก็มักจะเน้นที่ความแปลกความสดใหม่ที่เพียบพร้อมครบทุกฟังก์ชั่นการให้บริการเป็นสิบเป็นร้อยฟังก์ชั่น แต่ทุกท่านทราบไหมครับว่า แค่ผลิตผลิตภัณฑ์หรือสินค้าที่ตอบสนองการใช้งานของลูกค้าเพียง 1-2 ฟังก์ชั่นที่ใช้งานหลักได้อย่างดีและตรงกับความต้องการของลูกค้านั้นเป็นสิ่งที่มีคุณค่ามากกว่าที่เราผลิตผลิตภัณฑ์หรือบริการมากมายหลายฟังก์ชั่นแต่สุดท้ายลูกค้าก็ใช้เพียง 1-2 ฟังก์ชั่นพื้นฐาน คำถามต่อไปคือ "แล้วเราจะเสียเวลาผลิตผลิตภัณฑ์หรือสินค้าที่ Over Spec ไปทำไมในตอนแรกซึ่งลูกค้าอาจจะไม่ได้ต้องการมันเลยก็ได้ครับ!"  และนี่คือแนวคิดของธุรกิจแบบ Startup ที่แตกต่างจาก SME อย่างสิ้นเชิง ซึ่งถ้าให้ผมเปรียบเทียบกับอาหารมันก็คือ

Startup = "อาหารตามสั่ง"  จะสั่งผิดสั่งถูกอย่างไรผู้สั่งก็ต้องรับผิดชอบทั้งหมดตั้งแต่รับประทานยันจ่ายเงิน+
SME = "ข้าวราดแกง 19 อย่าง"  ผู้สั่งไม่ได้สั่งให้ทำข้าวแกง 19 อย่างและไม่สามารถกินพร้อมกันได้ทั้ง 19 อย่างในเวลาเดียวกัน แต่แม่ค้าก็จำเป็นต้องทำข้าวแกงถึง 19 อย่างทุกๆ วัน โดยไม่ได้คำนึงว่า แกงไหนที่ลูกค้าชอบกินหรือแกงไหนลูกค้าไม่ชอบกินแต่สิ่งที่ต้องทำเป็นกิจวัตรประจำวันก็คือ "การที่เราต้องมีวัตถุดิบที่เราจะต้องจัดเตรียมมันให้ครบเพื่อทำข้าวแกง 19 อย่างในแต่ล่ะวัน" ซึ่งคำถามต่อไปก็คือ "ถ้าคุณเป็น  Startup คุณจะใช้วิธีการนี้หรือไม่?  (More function less usage)

    ดังนั้น เหตุผลที่ 8:  ที่ว่า อยากทำสตาร์ทอัพที่มีแนวคิดที่แปลกไม่มีใครทำเราอยากเป็นรายแรกๆ ที่บุกเบิกมัน!  อาจเป็นความคิดแค่แว่บเเรกของการมีไอเดีย แต่อย่าลืมใน  เหตุผลที่ 1:  สตาร์ทอัพมันเริ่มต้นได้ง่ายเพราะมันเริ่มต้นจากไอเดียที่แก้ปัญหาให้กับผู้คน  ซึ่งไอเดียไม่จำเป็นต้องแปลกต้องใหม่เสมอไปน่ะครับ!  เพราะไม่งั้นเราก็คงไม่ได้เห็น Facebook, Line, Uber, Alibaba, QueQ, Grab taxi, ทั้งที่มีผู้อื่นให้บริการผลิตภัณฑ์หรือบริการแบบเดียวกันอยู่แล้วก่อนหน้า และ Startup ที่เป็น Product ผลิตภัณฑ์ที่พัฒนามาจากผลิตภัณฑ์ก่อนหน้าทั้งสิ้น  ดังนั้น จึงอาจกล่าวได้ว่า "โลกนี้ไม่ได้มีอะไรที่ใหม่หรอกครับ มีแต่ไอเดียที่พัฒนาต่อยอดมาจากไอเดียเดิมทั้งสิ้นแล้วเราก็เอาไอเดียนั้นไปลองเติมเต็มให้กับลูกค้าของเราว่าเขาชอบหรือไม่?  ถ้าชอบไอเดียนั้นก็เกิด ถ้าไม่ชอบไอเดียนั้นก็ดับครับ!  ที่สำคัญอย่ามโนไปเองครับว่าลูกค้าจะชอบไอเดียของเรา หากเราไม่เคยได้ไปทดสอบไอเดียนั้นกับว่าที่ลูกค้าของเราเลย! จงทำตัวเราให้เป็น "ร้านอาหารตามสั่ง" เวลาที่เราทำธุรกิจ Startup ครับ...เพราะลูกค้าคือ ผู้ที่จ่ายเงินให้กับเราด้วยความสมัครใจนั่นเองและไม่มีใครบังคับให้ลูกค้าของเราให้รับประทานอาหารที่เขาไม่ได้ชอบหรือเขาไม่ต้องการได้ครับ!!

"ถ้าชอบบทความนี้ ขอแค่ขอบคุณและเป็นกำลังใจให้ผมในการเขียนบทความต่อๆ ไปก็พอแล้วครับ  ส่วนใครชอบก็กดไลท์ใครใช่ก็กดแชร์ได้ครับผม^^"

See you again!

***ติดตาม อาจารย์อ๊ะได้จากช่องทางด้านล่างนี้ครับ

1เฟสบุ๊คส่วนตัว(Facebook Profile)

2.1 เฟสบุ๊คแฟนเพจ1 (Fanpage)
***เน้นเรื่องแรงบันดาลใจ

2.2 เฟสบุ๊คแฟนเพจ2 (Fanpage)
***เน้นเรื่องการสอนธุรกิจให้คิดแบบ Startup

3. ยูทูป(YouTube)

4.อินสตาแกรม(Instagram) 

5.Line@ เพื่อเป็น FC ของอาจารย์อ๊ะ(พิมพ์หา @ajarnah) มีด้วย กดแอดเพิ่มเพื่อนทักมาได้เลยครับ!



ปลถ้าอาจารย์อ๊ะ ถ่ายทอดสด Live เฟสบุ๊ควันไหนจะแจ้ง FC ทุกท่านให้ทราบล่วงหน้าอีกครั้งน่ะใน Line@ น่ะครับ แล้วพบกันครับ

ผลงานเขียนของอาจารย์อ๊ะกับหนังสือชื่อ The Power of Positive Inspiration(แต่งเป็นภาษาอังกฤษที่คนไทยสามารถอ่านเข้าใจได้ง่าย) 
กดดาวน์โหลด(Download) อ่านได้แล้ววันนี้ที่ลิงค์ด้านล่างนี้เลยครับ!



วันอังคารที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2562

10 เหตุผลที่คนชอบทำธุรกิจด้วยแนวคิดของ Startup (ตอนที่ 6) โดย อาจารย์อ๊ะ(The Prince of Startup)


10 เหตุผลที่คนชอบทำธุรกิจด้วยแนวคิดของ Startup (ตอนที่ 6) โดย อาจารย์อ๊ะ(The Prince of Startup)


        ตอนนี้ผมจะเสนอเป็นเหตุผลลำดับที่ 7 น่ะครับ(แต่ชื่อบทความเป็นตอนที่ 6 น่ะครับ)  สำหรับบทความเรื่อง "10 เหตุผลที่คนชอบทำธุรกิจด้วยแนวคิดของ Startup" ซึ่งมันอาจจะหาอ่านจากตำราทั้งไทยและต่างประเทศลำบากหน่อยน่ะครับเพราะส่วนใหญ่ผมเขียนมาจากประสบการณ์จริงบวกกับแนวคิดของการสร้างธุรกิจด้วยแนวคิดแบบ Startup ซึ่งถ้าเราอ่านจากตำราอย่างเดียวเราก็จะพบว่าส่วนใหญ่จะเป็นแนวเทคนิคการทำธุรกิจ Startup ไม่ว่าจะเป็น Lean Startup (อ่านไปก็คิดถึงแนวคิดการผลิตแบบลีนของโตโยต้า คล้ายๆ เหล้าใหม่ในขวดเก่า) ลองหาอ่านกันดูน่ะครับ เป็นหนังสืออีกเล่มที่  Eric Ries เขียนออกมาได้ดีอีกเล่มหนึ่งแต่ผมก็ไม่ค่อยได้อ้างอิงจากตำราเท่าไหร่น่ะครับ "เพราะผมว่าคนไทยต้องการที่จะสื่อสารตรงและนำไปคิดหรือนำไปปรับใช้จะมีประโยชน์มากกว่าแค่อ่านจากตำราอย่างเดียวครับ!" มาต่อกันครับ กับภาคจบของบทความนี้ที่เหลืออีก 4 เหตุผลที่เพื่อนๆ ลองไปปรับใช้กันดูน่ะครับ     


เหตุผลที่ 7:  คนรุ่นใหม่(และที่เพิ่งจบใหม่) ต้องการสร้างธุรกิจเป็นของตัวเองมากขึ้น(ไม่อยากทำงานประจำ) 


เหตุผลสนับสนุน:   คนรุ่นใหม่ต้องการเป็นนายตัวเองหรืออาจกล่าวได้ว่านักศึกษาจบใหม่ที่มีหัวเทคโนโลยีหน่อยก็อยากที่จะสร้างธุรกิจเป็นของตัวเองไม่รวมนักศึกษาบางคนที่สามารถหารายได้ตั้งแต่ตอนที่เป็นนักศึกษาอยู่แล้วดังนั้นการที่คนรุ่นใหม่ต้องการที่จะเป็นผู้ประกอบการมีแนวโน้มที่สูงขึ้นและหนึ่งในแนวคิดการสร้างธุรกิจก็คือ "การสร้างธุรกิจแบบ Startup" นั่นเอง! ที่แม้ว่าปัจจุบันยังไม่มีบรรจุไว้ในหลักสูตรผู้ประกอบการแต่ผู้ประกอบการหลายคนก็ยังสับสนระหว่างคำว่า "SME" กับ "Startup" หลายคนก็ยังงงๆ ว่า 2 คำนี้แตกต่างกันอย่างไร? และตกลงผมเป็นอะไรกันแน่แล้วผมจะไปต่อได้อย่างไร?


ความจริง: คนรุ่นใหม่ต้องการเป็นนายตัวเองต้องแยกให้ออกก่อนน่ะครับว่าเส้นทางที่เราเลือกจะมุ่งไปสู่การเติบโตแบบ SME หรือ Startup กันแน่จะได้ไม่หลงทิศทางหรือจะใช้วิธีลูกผสมก็ไม่ผิดกฎแต่อย่างไรน่ะครับ?  "อย่าหลงเข้าใจผิดว่าเราจะต้องเป็น Startup ไปตลอดชีวิต หรือเราจะเป็น SME ที่ไม่เหลียวมามองเทคนิคของ Startup เพื่อการเร่งการเติบโตบ้างเลย" แนวคิดนี้ผมอยากให้ทุกท่านนำไปปรับใช้ในธุรกิจของตัวเองน่ะครับ ไม่ว่าจะอยู่ในช่วงเริ่มต้นหรือช่วงการดำเนินธุรกิจมากี่ปีแล้วก็ตามจะ 1 ปีถึงหลายสิบปี การผสมผสานแนวคิดของธุรกิจยิ่งเป็นสิ่งที่จำเป็นครับ

แนวคิดของ SME
1. เน้นการสร้างสินทรัพย์เป็นของตัวเองที่จับต้องได้
2. เน้นการสร้างกำไรในปีแรกๆ
3. เน้นการบริหารจัดการคนหมู่มาก
4. เน้นการเติบโตที่ต้องเพิ่มทรัพยากรหรือเพิ่มสินทรัพย์
5. เน้นผูกขาดอำนาจการตัดสินใจแบบเจ้าของคนเดียว
6. เน้นลงทุนในเทคโนโลยีให้น้อยที่สุดและเน้นการลงทุนในทรัพย์สินหรือสินค้าคงคลัง
7. เน้นการบริหารงบการเงินแบบไม่ให้ขาดทุนเป็นพอ
8. เน้นแหล่งเงินทุนจากเจ้าของเพียงแหล่งเดียว

แนวคิดของ Startup
1. เน้นการสร้างสินทรัพย์ที่เป็น ดิจิตอล(Digital) แทบจับต้องไม่ได้
2. ยอมที่จะขาดทุนในปีแรกๆ ของการเริ่มต้นธุรกิจ
3. ไม่เน้นการบริหารคนหมู่มากกล่าวคือ ทีมงานมีเพียง 1-3 คนตอนเริ่มต้นธุรกิจ
4. เน้นการเติบโตที่ก้าวกระโดดซึ่งมาจากจำนวนผู้ใช้ที่เพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด
5. เน้นการแบ่งการบริหารจาก CEO, CTO, CFO ให้แยกจากกันเน้นการประสานจุดแข็ง(ไม่มีคนเก่งที่รอบรู้ทุกเรื่องในตัวคนเดียว)
6. เน้นลงทุนในเทคโนโลยีให้มากที่สุดและไม่เน้นการลงทุนในทรัพย์สินหรือสินค้าคงคลัง
7. เน้นการบริหารงบการเงินแบบให้เติบโตเป็นจำนวนเท่า X เท่าหรือเน้นการระดมทุนเพื่อการขยายธุรกิจทั้งในประเทศและต่างประเทศจนถึงการ Exit หรือการขายกิจการหรือควบรวมกิจการเพื่อการเติบโตอย่างรวดเร็วและพร้อมที่จะเปลี่ยนถ่ายความเป็นเจ้าของ(Owner) ได้ทันทีโดยไม่คำนึงถึงการสืบทอดกิจการเหมือนแนวคิดของ SME หรือแนวคิดของเถ้าแก่
8. เน้นการหาแหล่งเงินทุนเพื่อการเติบโตของกิจการหรือธุรกิจ Startup

          ดังนั้นคนรุ่นใหม่ที่ต้องการเป็นนายตัวเองจำต้องระบุแนวคิดของตัวเองให้ชัดเจนก่อนการเริ่มต้นน่ะครับ จะได้ไม่สับสนกับตัวเองว่าเราจะเป็นอะไรกันแน่?  แต่ที่แน่ๆ ไม่ว่าเราจะยึดแนวคิดไหนเราต่างก็เป็นผู้ประกอบการกันทั้งนั้น  ดังนั้น "จงอย่ายึดติดกับมันครับเพราะทุกแนวคิดอาจผสมผสานกันได้ในสถานการณ์หนึ่งๆ และจำต้องแยกจากกันในอีกสถานการณ์หนึ่ง"  ดังนั้นเราจึงต้องเป็น "ผู้นำที่ไม่ยึดติด หากแต่แนวคิดนั้นสามารถนำพาองค์กรนำพาธุรกิจของเราให้รอดไปได้ครับ" และที่สำคัญคนรุ่นใหม่ยิ่งจำเป็นต้องมีคนที่มีประสบการณ์ทางธุรกิจเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของทีม Startup ด้วยน่ะครับ!  ลองนึกภาพดูว่า สมมติว่าทีมเรามีแต่คนรุ่นใหม่ที่ไม่เคยมีประสบการณ์ Run ธุรกิจมาเลย กับอีกทีมของ Startup ที่มีผู้มีประสบการณ์เข้ามาร่วมด้วย (ส่วนใหญ่ก็มาจากแวดวง SME เดิมทั้งนั้น) แบบไหนจะมีโอกาศที่จะประสบความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจมากกว่ากัน อันนี้ Common sense เลยครับ ไม่ต้องคิดมากแต่ให้คิดถึงหลักความเป็นจริงของธุรกิจครับ!

"ถ้าชอบบทความนี้ ขอแค่ขอบคุณและเป็นกำลังใจให้ผมในการเขียนบทความต่อๆ ไปก็พอแล้วครับ  ส่วนใครชอบก็กดไลท์ใครใช่ก็กดแชร์ได้ครับผม^^"

See you again!

***ติดตาม อาจารย์อ๊ะได้จากช่องทางด้านล่างนี้ครับ

1เฟสบุ๊คส่วนตัว(Facebook Profile)

2.1 เฟสบุ๊คแฟนเพจ1 (Fanpage)
***เน้นเรื่องแรงบันดาลใจ

2.2 เฟสบุ๊คแฟนเพจ2 (Fanpage)
***เน้นเรื่องการสอนธุรกิจให้คิดแบบ Startup

3. ยูทูป(YouTube)

4.อินสตาแกรม(Instagram) 

5.Line@ เพื่อเป็น FC ของอาจารย์อ๊ะ(พิมพ์หา @ajarnah) มีด้วย กดแอดเพิ่มเพื่อนทักมาได้เลยครับ!



ปลถ้าอาจารย์อ๊ะ ถ่ายทอดสด Live เฟสบุ๊ควันไหนจะแจ้ง FC ทุกท่านให้ทราบล่วงหน้าอีกครั้งน่ะใน Line@ น่ะครับ แล้วพบกันครับ

ผลงานเขียนของอาจารย์อ๊ะกับหนังสือชื่อ The Power of Positive Inspiration(แต่งเป็นภาษาอังกฤษที่คนไทยสามารถอ่านเข้าใจได้ง่าย) 
กดดาวน์โหลด(Download) อ่านได้แล้ววันนี้ที่ลิงค์ด้านล่างนี้เลยครับ!






วันจันทร์ที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2562

10 เหตุผลที่คนชอบทำธุรกิจด้วยแนวคิดของ Startup (ตอนที่ 5) โดย อาจารย์อ๊ะ(The Prince of Startup)

10 เหตุผลที่คนชอบทำธุรกิจด้วยแนวคิดของ Startup (ตอนที่ 5) โดย อาจารย์อ๊ะ(The Prince of Startup)

หตุผลที่ 6:  คนที่ทำธุรกิจสตาร์ทอัพส่วนใหญ่อยากเป็นผู้นำในตลาดนั้นๆ (อยากเป็นตัวจริงครับ!) 





เหตุผลสนับสนุน:  คนส่วนใหญ่เรียกได้ว่าคนส่วนมากดีกว่าที่กระโดดเข้ามาทำธุรกิจสตาร์ทอัพกัน ไม่ว่าจะเป็นสุดยอดเทคโนโลยีที่ไฮเทคหรือจะเป็นรูปแบบธุรกิจที่เข้ามา Disruption กับรูปแบบธุรกิจแบบดั้งเดิม ปฎิเสธไม่ได้ว่า "ไม่ได้อยากจะเป็นผู้นำในตลาดนั้นๆ" เพราะจริงๆ ทุกคนที่เข้ามาต้องการที่จะเป็นผู้นำในตลาดนั้นๆ ครับ ไม่เชื่อคุณลองนึกย้อนๆ กลับไปทีล่ะธุรกิจก็ได้ จนถึงทุกวันนี้ เราก็ยังไม่เห็นมีใครทำ Facebook 2 แข่งกับพี่มารค์ หรือใครที่จะทำแอปขับ Taxi แข่งกับ Uber หรือ Grap Taxi  หรือใครที่จะทำ Search Engine แข่งกับ Google หรือ แอปอ่านหนังสือ E-Book ของคนไทยที่ก้าวไกลข้ามภูมิภาคของประเทศไทยไปแล้วอย่าง Ookbee และอีกหลายสตาร์ทอัพทั้งของไทยและเทศที่ทุกวันนี้ถ้าใครติดลอยลมบนแล้วก็เรียกได้ว่าเป็นเจ้าตลาดใน Area นั้นๆ ได้อย่างแท้จริง หรือเรียกเป็นภาษาบ้านๆ ว่า "เป็นผู้นำในตลาดนั้น" อย่างที่เบอร์ 2 หรือ เบอร์ 3 เทียบตามมาไม่ติดเพราะเจ้าตลาดกินส่วนแบ่งการตลาด(Market share) ไปแล้วร้อยละ 60%-90% แบบนี้เบอร์ล่างที่ต้องไล่ตามมาเทียบไม่ติดอย่างแน่นอนครับเพราะผู้นำตลาดก็จะพัฒนาสินค้าหรือบริการตลอดจนสร้างระบบนิเวศทางการค้าครบวงจรในไม่ช้า ปล. "อีกหน่อยอะไรที่ ยูทูปทำได้ ฝั่งของเฟสบุ๊คก็จะทำได้เหมือนกันครับ" ผมคาดการณ์ไว้เลยล่วงหน้าวันนี้เลย!

ความจริง: ก็เป็นเรื่องที่แปลกมากครับที่เบอร์ 1 ที่ครองตลาดของเขานั้นล้วนแล้วแต่มิใช่ผู้ที่เข้ามาในตลาดเป็นคนแรกเสมอไป ทุกท่านยังจำได้ใช่ไหมครับ? "ก่อน เฟสบุ๊ค เราก็ยังมี Hi5, ก่อน Google เรายังเคยพิมพ์หาอะไรๆ ใน Yahoo Seacrh engine อยู่เลย แต่แปลกที่หลังจาก Google เปิดตัว เวลาที่เรา ค้นหาคำๆ เดียวกันใน Yahoo เรากลับพบว่า "ผลการค้นหาใน Google ได้ผลการค้นหาที่มากกว่ามาก" แบบนี้ผู้บริโภคจะเลือกอะไรล่ะครับ!  แน่นอนผู้บริโภคอย่างเราๆ ก็ต้องเลือกของที่ดีกว่า, เร็วกว่า, ประหยัดเวลากว่า และให้ได้มากกว่าอย่างแน่นอน!  ดังนั้น "การทำธุรกิจสตาร์ทอัพไม่จำเป็นที่มาก่อนต้องสำเร็จก่อนเสมอไปน่ะครับ เพราะหลายๆ ตัวอย่างเขาก็มาทีหลังแล้วก็สำเร็จได้ก่อนในระดับที่เรียกได้ว่าผู้คนอาจลืมเจ้าตลาดเดิมไปเลย" เพราะอะไรเหรอครับ? เพราะเหตุผลดังนี้

1.สินค้าหรือบริการต้องตอบสนองผู้บริโภคได้ตรงกับความต้องการได้มากกว่า "ใช้ง่ายไม่ซับซ้อนและให้ผลลัพธ์หรือประโยชน์ที่มากกว่าไม่ทางตรงก็ทางอ้อม"

2. สินค้าหรือบริการต้องเป็นสิ่งที่เข้ามาแก้ปัญหาได้ตรงจุดกับตลาดที่เข้าไปเรียกได้ว่าเป็นการตอบสนองเฉพาะกลุ่ม  "ไม่ต้องไปแก้ปัญหาให้ทุกคนขอแค่มีกลุ่มคนที่ใช้สินค้าหรือบริการของเราตัวจริงเท่านั้นพอ"

3. สินค้าหรือบริการนั้นต้องเกิดการใช้และขยายตัวได้อย่างรวดเร็วโดยไม่เป็นสัดส่วนกับทรัพยากรที่ลงทุนไปหรือผู้ใช้สามารถบอกต่อกันได้อย่างรวดเร็ว

 ดังนั้นถ้าทุกท่านมีคุณสมบัติครบทั้ง 3 ข้อข้างต้นนี้แล้ว "จะมาช้าหรือมาทีหลัง" เราก็เริ่มต้นสร้างธุรกิจสตาร์ทอัพของเราได้เช่นกันครับ โดยไม่จำเป็นต้องไปอิงกับเจ้าตลาดเดิมเลย กล่าวคือ "เราอาจจะสร้างตลาดความต้องการใหม่ที่เฉพาะเจาะจงสำหรับสินค้าหรือบริการของเราโดยเฉพาะเลย  เรียกได้ว่างานนี้เราก็จะงัดกลยุทธ์น่านน้ำสีคราม(Blue Ocean) มาถล่มกับปลาที่อยู่ในน่านน้ำสีแดง(Red Ocean) กันไปเลยหรือใครจะงัดกลยุทธ์ปลาเล็กกินปลาใหญ่หรือปลาเร็วกินปลาช้าก็ไม่ว่ากันครับ...เหล่าว่าที่...ผู้นำในธุรกิจสตาร์ทอัพ(Startup) ในตลาดของแต่ละคนกัน...โชดดีทุกคนน่ะครับ^^

 "ถ้าชอบบทความนี้ ขอแค่ขอบคุณและเป็นกำลังใจให้ผมในการเขียนบทความต่อๆ ไปก็พอแล้วครับ  ส่วนใครชอบก็กดไลท์ใครใช่ก็กดแชร์ได้ครับผม^^"

See you again!

***ติดตาม อาจารย์อ๊ะได้จากช่องทางด้านล่างนี้ครับ

1เฟสบุ๊คส่วนตัว(Facebook Profile)

2.1 เฟสบุ๊คแฟนเพจ1 (Fanpage)
***เน้นเรื่องแรงบันดาลใจ

2.2 เฟสบุ๊คแฟนเพจ2 (Fanpage)
***เน้นเรื่องการสอนธุรกิจให้คิดแบบ Startup

3. ยูทูป(YouTube)

4.อินสตาแกรม(Instagram) 

5.Line@ เพื่อเป็น FC ของอาจารย์อ๊ะ(พิมพ์หา @ajarnah) มีด้วย กดแอดเพิ่มเพื่อนทักมาได้เลยครับ!



ปลถ้าอาจารย์อ๊ะ ถ่ายทอดสด Live เฟสบุ๊ควันไหนจะแจ้ง FC ทุกท่านให้ทราบล่วงหน้าอีกครั้งน่ะใน Line@ น่ะครับ แล้วพบกันครับ

ผลงานเขียนของอาจารย์อ๊ะกับหนังสือชื่อ The Power of Positive Inspiration(แต่งเป็นภาษาอังกฤษที่คนไทยสามารถอ่านเข้าใจได้ง่าย) 
กดดาวน์โหลด(Download) อ่านได้แล้ววันนี้ที่ลิงค์ด้านล่างนี้เลยครับ!




วันอาทิตย์ที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2562

10 เหตุผลที่คนชอบทำธุรกิจด้วยแนวคิดของ Startup (ตอนที่ 4) โดย อาจารย์อ๊ะ(The Prince of Startup)

10 เหตุผลที่คนชอบทำธุรกิจด้วยแนวคิดของ Startup (ตอนที่ 4) โดย อาจารย์อ๊ะ(The Prince of Startup)  

เผลอแป๊บเดียวเรามาครึ่งทางของเหตุผลลำดับที่ 5 กันแล้วครับ ท่านผู้ติดตามและท่านผู้อ่านทุกคน(ใครที่ยังไม่ได้กดติดตามอาจารย์อ๊ะใน Web นี้สามารถกดติดตามได้ที่หัวมุมบนขวาที่มีปุ่มกดติดตามได้น่ะครับเวลาที่ผมลงบทความใหม่ๆ จะได้มีการแจ้งเตือนให้กับท่านผู้อ่านทุกท่านทาง Email ที่ได้ฝากกับผมไว้หรือท่านใดที่มีคำถามเดี่ยวกับสตาร์ทอัพก็เขียนคำถามในช่องด้านขวามือพร้อมกรอกข้อมูล Email กด Submit แล้วผมจะตอบคำถามส่งตรงไปยัง Email ที่ให้ไว้กับกับผมเลยทีเดียวครับ! ปล. อย่าลืมกดรับ Subscribe ใน Inbox ของ Email ทุกท่านหลังกด Submit น่ะครับ (ถ้าหา Subscribe confirmed ไม่เจออาจเป็นไปได้ที่จะอยู่ใน Junk Mail หรือ ถังขยะใน Email ของท่านผู้อ่านที่กด Submit มา ลองหาดูน่ะครับ!)

ก่อนที่จะไปสู่เหตุผลในข้อที่ 5 เรามาสรุปเหตุผลตั้งแต่ลำดับที่ 1-4 กันอีกครั้ง(เฉพาะหัวข้อน่ะครับ) ส่วน รายละเอียดกับเหตุผลสนับสนุนและความจริงต้องรบกวนท่านผู้อ่านย้อนกลับไปอ่านตั้งแต่เหตุผลที่ 1 น่ะครับ อ่านรอบเดียวจะได้เกิดความต่อเนื่องเพราะผมไม่ได้กางตำราเอามาเขียนมันส่วนใหญ่มันก็คือจากประสบการณ์อ่ะครับ เพราะในตำราใครๆก็ ไปหาอ่านได้ แต่ถ้าเป็นตำรา+ประสบการ์ณ+การนำไปใช้งาน+ข้อดี+ข้อเสีย+การปรับแนวคิด ผมถือว่าบทความของผมจะได้ครบรส  เสมือนนิยายสามก๊กที่ว่า "รู้เขารู้เรารบร้อยครั้งย่อมชนะร้อยครั้ง" ซึ่งการทำธุรกิจสตาร์ทอัพ(Startup Business) ก็เป็นการเดินเกมส์ในสนามศึกสงครามในทางธุรกิจ(Business war) ยังไงยังงั้นเลยครับ! หลายคนแค่มาอ่านเอาไอเดียก็สามารถนำไอเดียไปดัดแปลงในธุรกิจของตัวเองได้แล้วครับโดยที่คุณก็ไม่ต้องจำเป็นที่ต้องเป็นสตาร์ทอัพก็ได้ครับ...ใครอ่าน..ใคร Get คนนั่นแหล่ะที่ได้ไปต่อ..."ขอให้ตั้งใจจริงที่มาอ่านเพื่อนำความรู้ใน Website และบทความของผมนำไปใช้งานต่อก็แค่นั้นครับ" เพราะสุดท้ายความรู้ไม่ได้อยู่แค่ไหนตำราครับ มันต้องนำไปปฎิบัติจริง...เล่นเอง...ทำเอง....ทำจริง....เจ็บจริง.....และลุกขึ้นมาใหม่ได้จริง...ว่าม่ะ?

สรุปเหตุผลตั้งแต่ลำดับที่ 1-4 กันอีกครั้ง

เหตุผลที่ 1: มันเริ่มต้นได้ง่ายเพราะมันเริ่มต้นจากไอเดียที่แก้ปัญหาให้กับผู้คน 
เหตุผลที่ 2: สตาร์ทอัพสายเทคโนโลยีอนาคตน่าจะมีคนสนใจใช้แน่เลย
เหตุผลที่ 3: คนส่วนใหญ่คิดว่าทำสตาร์ทอัพแล้วจะสบายดูเท่ห์ไม่เหมือนใครน่าสนใจมาทำกันเถอะ!
เหตุผลที่ 4: คนส่วนใหญ่คิดว่าทำสตาร์ทอัพแล้วต้องคอยหาแหล่งทุนอยู่ร่ำไป?  มีทุนที่ไหนให้ไปขอให้หมด! แถมยังเจอหน้ากันซ้ำๆ ด้วยน่ะ 555 

หมายเหตุ: อย่างที่ผมได้เกริ่นแจ้งไว้ตอนต้นแล้วน่ะครับ ว่าทุกอย่างมีข้อดี-ข้อเสีย หรือเรียกว่า เหรียญมันมี 2 ด้าน(The two sides of coin)  ดังนั้นท่านผู้อ่านยังไม่ต้องเชื่อผมทั้งหมดเพียงแต่ท่านผู้อ่านลองค่อยๆ นึกตามผมในสิ่งที่ผมเขียนมาตั้งแต่บทแรกถึงการอธิบายเหตุผลที่ 1-4 ว่าจริงไม่จริงเพียงใด?  แล้วลองคอมเม็นซ์กลับมากันครับ เพราะงานนี้เราจะได้มีการสื่อสาร 2 ทางซึ่งผมอยากให้บทความของผมใน Website นี้เป็นแบบ Interactive มากกว่าที่ผมจะเขียนให้ทุกท่านอ่านแต่เพียงข้างเดียว ความรู้ที่ดีควรเป็น 1+1 > 2 ครับ(มากกว่า 2 ครับ) เพราะมันจะเป็นประโยชน์กับทุกท่านเป็นอย่างมากเลยครับ! และผมยินดีที่จะรับฟังทุกคอมเม็นซ์ครับ มาถึงเหตุผลในลำดับที่ 5 กันครับว่า เหตุผลที่คนชอบทำธุรกิจด้วยแนวคิดของ Startup นั้นเพราะอะไรต่อ? 





เหตุผลที่ 5: ผม/ฉัน/หนู  มีไอเดียที่เจ๋งมากเลยเพราะมันมาจาก Passion ของ  ผม/ฉัน/หนู อย่างแรงกล้า

เหตุผลสนับสนุน:  ปกติแล้วเวลาที่เราจะทำธุรกิจอะไรก็ตาม เรามักจะทำจากความหลงใหล(Passion) ในสิ่งที่เราทำ..."มันเป็นสิ่งที่ถูกต้องใช่เลยครับ" เพราะความหลงใหลมันจะทำให้เราสามารถลุกขึ้นมาจากเตียงแล้วเราสามารถทำงานนั้นได้ทันทีโดยที่ไม่ต้องมีใครบังคับ แต่ธุรกิจสตาร์ทอัพ(Startup) มันไม่ค่อยจะใช้ได้กับแนวคิดนั้นอย่าง 100% น่ะครับ  ซึ่งถ้าเราจะใช้สิ่งที่เราชอบทำเป็นงานอดิเรกแล้วสามารถผันไปเป็นรายได้พอเลี้ยงตัวเองอันนั้นคงไม่ใช่แนวคิดของการทำธุรกิจแบบสตาร์ทอัพ จนมีกูรูการเงินระดับโลก วอแรนซ์ บัฟเฟต์ เคยกล่าวไว้ว่า  "สิ่งที่เราชอบให้ทำเป็นงานอดิเรก ส่วนสิ่งที่โลกชอบให้ทำเป็นธุรกิจ" ประโยคนี้ทำให้ผมถึงบางอ้อเลยครับ ว่าจะนำมาปรับใช้กับแนวคิดการทำธุรกิจแบบสตาร์ทอัพได้อย่างไร? ผมเชื่อว่าทุกท่านกำลังตามผมทันอยู่น่ะครับ เพราะความจริงในข้อนี้คือ.....

ความจริง: คือ  โลกของธุรกิจ ต้องมี "ผู้ซื้อ" ครับ หรือ "ใครคือลูกค้าของคุณที่แท้จริงนั่นเอง?" โดยที่ภาษาของสตาร์ทอัพเราจะชอบสมมติระบุตัวละครตัวนั้น ว่าเป็นใคร? อายุเท่าไหร่? ทำงานอะไร? มีเงินเดือนประมาณเท่าไหร่? ใช้ชีวิต Life style เป็นอย่างไร?  ในนามของ Persona(ตัวละครสมมติเวลาที่ธุรกิจสตาร์ทอัพต้องระบุว่าใครคือลูกค้าของคุณ?) ใช่ครับ มันเลยทำให้มุมมองของผู้ที่จะทำธุรกิจสตาร์ทอัพเปลี่ยนไปจาก "การเริ่มต้นธุรกิจจาก Passion ของตัวเอง ไปเป็นการเริ่มต้นระบุความต้องการจากลูกค้าชื่อ นาย A นาย B หรือ น ส Z ว่าแต่ละคนเหมาะกับสินค้าหรือบริการของเราอย่างไร? และเราต้องปรับสินค้าหรือบริการอะไร? เพื่อให้สนองต่อความต้องการของลูกค้าไม่ใช่สนองความต้องการของตัวเอง....หลายๆๆ ไอเดียของสตาร์ทอัพส่วนใหญ่จะเริ่มต้นผิดที่ทำสินค้าหรือบริการมาตอบสนอง Passion ของตัวเองซึ่งแบบนี้ไม่ถูกต้องน่ะครับ!  และไม่ควรจะมีแนวความคิดหรือ Mindset แบบนี้ในการเริ่มต้นทำธุรกิจด้วยแนวคิดแบบ Startup เพราะนั้นหมายถึง "คุณกำลังผลิตสินค้าหรือบริการที่ตลาดไม่มีความต้องการหรือไม่มีผู้ใช้งานอย่างแท้จริง" และเหตุผลข้อนี้ก็เป็น TOP 3  ระดับประเทศและระดับโลกที่ว่า "ทำไมสตาร์ทอัพส่วนใหญ่ถึงล้มเหลว" และเคยมีกูรูสตาร์ทอัพของไทยกล่าวไว้อีกว่า "Passion ไม่ใช่ Unfair Advantage ของธุรกิจสตาร์ทอัพน่ะครับ! ไม่ต้องพูดถึงประเด็นนี้ว่าตัวเรามีมากกว่าใคร? เวลาที่เราไป Pitching ขอทุนกรรมการเพราะกรรมการท่านก็จะบอกว่าเมื่อสักครู่ทีมที่เข้ามา Pitching ก่อนหน้าก็พูดแบบเราเหมือนกัน 555 อันนี้คือเรื่องจริงน่ะครับ!) หมายเหตุ: ท่านผู้อ่านสามารถย้อนไปอ่านเรื่อง Unfair Advantage ก่อนหน้าด้วยน่ะครับจะได้เข้าใจถึงประเด็นนี้ได้ดีมากยิ่งขึ้น

        ท้ายนี้ท่านผู้อ่านยังไม่ต้องปักใจเชื่อผมทั้งหมดน่ะครับ เพราะผมอยากให้ทุกท่านลองคิดตามกันจะได้ทบทวนแนวคิดและเป็นประโยชน์มากกว่าที่ผมจะเขียนให้ทุกท่านอ่านและเชื่อผมแต่เพียงด้านเดียว! เพราะผมยังยืนยันว่าผมอยากให้ Website:  www.ajarnah.com  เป็นบทความที่เน้นการสื่อสาร 2 ทาง(Interactive)  "ดังนั้นผมยินดีอ่านและตอบทุกคอมเม็นซ์ที่เสนอแนะเข้ามาให้ผมน่ะครับ เพื่อที่ผมจะได้พัฒนาการเขียนบทความเพื่อให้ตอบโจทย์กับกลุ่มผู้อ่านของผมได้มากที่สุด!" อันนี้ก็คือวิธีการของแนวคิดการสร้างธุรกิจแบบ Startup เหมือนกันครับ!   ที่ท่านผู้อ่านก็คือ ลูกค้าของผม ดังนั้น ผมก็ต้องผลิตสินค้าหรือบริการให้ตรงกับสิ่งที่ท่านผู้อ่านต้องการมันเช่นกันครับ!  เห็นไหมครับว่า "แนวคิดของสตาร์ทอัพสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ทุกวงการเลยทีเดียว!" และให้สมกับเนื้อหาของชื่อ Website นี้ที่ว่า "สอนธุรกิจให้คิดแบบ Startup โดย อาจารย์อ๊ะ"  ครับผม^^

        ติดตามอ่านเหตุผลลำดับที่ 6 ต่อไปน่ะครับ..ผมว่ามันชักจะเริ่มเข้มข้นขึ้นมากล่ะ ผมไม่อยากให้ทุกคนพลาดเกร็ดความจริงที่ผมกำลังจะนำเสนอต่อไปจริงๆ

 "ถ้าชอบบทความนี้ ขอแค่ขอบคุณและเป็นกำลังใจให้ผมในการเขียนบทความต่อๆ ไปก็พอแล้วครับ  ส่วนใครชอบก็กดไลท์ใครใช่ก็กดแชร์ได้ครับผม^^"

See you again!

***ติดตาม อาจารย์อ๊ะได้จากช่องทางด้านล่างนี้ครับ

1เฟสบุ๊คส่วนตัว(Facebook Profile)

2.1 เฟสบุ๊คแฟนเพจ1 (Fanpage)
***เน้นเรื่องแรงบันดาลใจ

2.2 เฟสบุ๊คแฟนเพจ2 (Fanpage)
***เน้นเรื่องการสอนธุรกิจให้คิดแบบ Startup

3. ยูทูป(YouTube)

4.อินสตาแกรม(Instagram) 

5.Line@ เพื่อเป็น FC ของอาจารย์อ๊ะ(พิมพ์หา @ajarnah) มีด้วย กดแอดเพิ่มเพื่อนทักมาได้เลยครับ!



ปลถ้าอาจารย์อ๊ะ ถ่ายทอดสด Live เฟสบุ๊ควันไหนจะแจ้ง FC ทุกท่านให้ทราบล่วงหน้าอีกครั้งน่ะใน Line@ น่ะครับ แล้วพบกันครับ

ผลงานเขียนของอาจารย์อ๊ะกับหนังสือชื่อ The Power of Positive Inspiration(แต่งเป็นภาษาอังกฤษที่คนไทยสามารถอ่านเข้าใจได้ง่าย) 
กดดาวน์โหลด(Download) อ่านได้แล้ววันนี้ที่ลิงค์ด้านล่างนี้เลยครับ!









วันเสาร์ที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2562

10 เหตุผลที่คนชอบทำธุรกิจด้วยแนวคิดของ Startup (ตอนที่ 3) โดย อาจารย์อ๊ะ(The Prince of Startup)

10 เหตุผลที่คนชอบทำธุรกิจด้วยแนวคิดของ Startup (ตอนที่ 3) โดย อาจารย์อ๊ะ(The Prince of Startup)

ผมได้เขียนเหตุผลลำดับที่  1-3 ไว้ใน เนื้อหาของบทก่อนหน้า 2 บทแล้วน่ะครับ ถ้าท่านผู้อ่านท่านใดที่เพิ่งมาเห็นบทความนี้  "ต้องขอรบกวนย้อนกลับไปอ่านตั้งแต่บทเเรกก่อนน่ะครับ"  เพื่อให้ได้อรรถรสความต่อเนื่องในการอ่านและการเรียงลำดับการคิดแต่  ถ้าไม่อยากย้อนก็อ่านบทนี้ก่อนก็ได้ครับ...จะได้ไม่เสียเวลาท่านผู้อ่านกัน...แล้วค่อยย้อนกลับไปอ่านตอนที่ 1-2 กันต่อ!

วันนี้ผมจะมาพูดถึงเหตุผลลำดับที่ 4 ว่า ทำไม "คนชอบทำธุรกิจด้วยแนวคิดของ Startup" กัน ลองเดากันมาครับ!! ใครจะตอบถูกมั่งเอ่ย....

1.....เงิน ?
2........เวลา ?
3............สุขภาพ ?
...
....

ผมขอเฉลยดีกว่าว่าเหตุผลในลำดับที่ 4 มันคืออะไรกันแน่? ไม่ต้องเถียงผมหรอกว่าคุณไม่ต้องการมัน 555 เพราะเหตุผลขอนี้มันคือ........."เงิน"  ครับ!   เอ้า ก็ทุกธุรกิจมันก็ต้องการเงินไม่ใช่หรอครับ ธุรกิจสตาร์ทอัพก็เหมือนกัน...แต่เรากำลังพูดถึง "เงินทุน" ในการเริ่มต้นธุรกิจสตาร์ทอัพอาจไม่จำเป็นต้องใช้เงินทุนมากหรือไม่ต้องใช้มันเลยก็ได้ครับ" ....และนี่คือที่มาของเหตุผลข้อที่ 4 ที่ว่า......(อ่านต่อด้านล่างครับ!)



เหตุผลที่ 4: คนส่วนใหญ่คิดว่าทำสตาร์ทอัพแล้วต้องคอยหาแหล่งทุนอยู่ร่ำไป?  มีทุนที่ไหนให้ไปขอให้หมด! แถมยังเจอหน้ากันซ้ำๆ ด้วยน่ะ 555 

เหตุผลสนับสนุน:   ทุกธุรกิจต้องอาศัย "เงินทุน" ทั้งนั้นไม่ว่า เราจะใช้เงินตัวเอง, แหล่งเงินทุนจากสถาบัน, ขอยืมเงินจากพ่อแม่พี่น้องหรือเพื่อนหรือ คนอื่นที่เราไปขายไอเดียไว้ จนมีคนกว่าไว้ว่าแหล่งเงินทุนของสตาร์ทอัพมาจาก 3F(Family, Friend and Fool) ***Fool  อาจหมายถึงบุคคลใดๆ ก็ตามที่เราไปขายไอเดียขายฝันไว้แล้วเขาให้เงินมาร่วมลงทุนกับเราด้วยแต่อย่าแปลตรงตัวตามศัพท์ในภาษาอังกฤษน่ะครับ 555 เพราะว่าคงไม่ดีนักกับผู้ที่ให้เงินทุนเรามา ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่า ทุกคนที่เข้ามาในวงการสตาร์ทอัพก็จะมองหาแหล่งเงินทุนไปเรื่อยๆ บางโครงการก็อาจไป Pitching ไอเดีย(นำเสนอไอเดียธุรกิจให้คณะกรรมการหรือผู้ร่วมลงทุน) นั้นในหลายๆ เวที จนคณะกรรมการจำได้ 555 หรือไปเจอเพื่อนเก่าที่เคยไปเจอกันในเวทีอื่นๆ ที่ผ่านมา ดังนั้นไม่แปลกครับ ที่ใครหลายคนมี Mindset ที่เข้ามาในธุรกิจสตาร์ทอัพแล้ววันๆ ก็จะหาแหล่งเงินทุนอยู่ร่ำไป...มันไม่ผิดครับแต่ผมมีคำถามให้ทุกท่านชวนชุกคิดใหม่ทำใหม่ในความจริงด้านล่างนี้

ความจริง: คือ  "สมมติในทางกลับกัน" ถ้าเราเป็นผู้ที่ให้ทุนกับสตาร์ทอัพ 2 ราย รายที่ 1 มีแนวความคิดไอเดียมี  Traction  ดีมาก (***Traction คือ มีผู้ใช้งานหรือมีลูกค้าเข้าใช้บริการเราอย่างต่อเนื่องและเติบโตแบบก้าวกระโดด)  และยังมีจุดแข็งและความได้เปรียบที่ไม่แฟร์(Unfair Advantage)  (ภาษาสตาร์ทอัพหมายถึง จุดที่เราได้เปรียบจากคู่แข่งอยู่มากจนทำให้เรามีจุดเเข็งที่คู่แข่งยากที่จะเข้ามาแข่งขันกับเรา เช่น เรารู้จักรู้ค้า  TOP 3 ในตลาดของเรา หรือเรามีลูกค้าที่มีสัดส่วน 70% ของตลาดรวม หรือเราได้สัมปทานผูกขาดมา 5-10 ปี หรือเทคโนโลยีนี้ไม่มีใครสามารถเลียนแบบเราได้เพราะเราเป็นผู้คิดค้นและผ่านการทดสอบจากสถาบันอันดับ 1 ของกลุ่มอุตสาหกรรมเป็นรายแรกของประเทศไทย และเรากำลังจะขยายตลาดออกไปคลอบคลุมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภายในสิ้นปีนี้จากการทดสอบการให้บริการและ Feedback ที่ดีในการตอบรับลูกค้า ทั้ง 3 ประเทศ...บรา บรา บรา   ส่วนอีกรายมีแต่ไอเดียที่วาดฝันสวยหรูอยู่บนกระดาษและบน Presentation ที่ สวยงามมากแต่ไม่มี Traction หรือ Unfair advantage เลย    คำถามคือ คุณจะเลือกลงทุนกับสตาร์ทอัพรายที่ 1 หรือ รายที่ 2 มากกว่ากันครับ?   คำตอบคือ เราจะอยากร่วมลงทุนกับสตาร์ทอัพรายที่มี Traction และ Unfair advantage อย่างแน่นอน 1,000% และแปลกมากสตาร์ทอัพเหล่านี้ ก็ไม่ค่อยมีนิสัยที่จะชอบไปเสนอไอเดียขายให้ใครมาร่วมลงทุนแต่แปลกที่นักลงทุน(Venture Capital) จะหาเจอเองและอยากจะร่วมลงทุนกับสตาร์ทอัพรายที่ว่านี้ เกมส์เปลี่ยนสลับขั้วกันไปเลยครับ "แทนที่สตาร์ทอัพจะเป็นผู้ถูกเลือกจากนักลงทุน กลับเป็นว่าสตาร์ทอัพเจ้านั้นกลับเป็นผู้เลือกว่าจะให้ใครมาร่วมลงทุนกับเรา" แบบนี้คุณค่าอยู่กับสตาร์ทอัพผู้นั้นแน่นอนครับหรืออาจกล่าวได้ว่า "เป็นสตาร์ทอัพที่เนื้อหอมใครๆ ก็อยากมาร่วมลงทุนกับเรา" ทุกท่านอยากเป็นแบบนี้ใช่ไหมครับ?  ถ้าคำตอบคือ "ใช่" ผมสนับสนุนแนวความคิดนี้อยากเต็มที่ครับ มาทำตัวเป็นสตาร์ทอัพเนิ้อหอมกันมากกว่าที่จะมัวแต่ไปวิ่งขอเงินทุนสถานเดียว!  โดยใช้หลักคิด 4 ข้อด้านล่างนี้ได้เลยครับ

1. สร้างความได้เปรียบที่ไม่แฟร์(Unfair Advantage) ให้เกิดขึ้นในธุรกิจสตาร์ทอัพของเราให้เร็วที่สุดและมองไปข้างหน้าให้ยั่งยืนเทียบกับคู่แข่งหรือธุรกิจใกล้เคียงกับเรา
2. มี Traction สะสมก่อนค่อยไปขอเงินทุนทุกครั้ง!
3. ถ้าเป็นสตาร์ทอัพที่เป็นระยะ Ideal state(ระยะที่เป็นไอเดีย)  ถ้าคุณอยากได้แหล่งเงินทุนคุณยิ่งต้องมีฐานผู้ที่เคยใช้สินค้าหรือบริการของคุณแล้วบ้างก่อนที่จะไปขอเงินทุน....(***อย่าไปเชื่อใครน่ะครับว่า มีแค่ไอเดียเฉยๆ แต่ไม่เคยผ่านการทดสอบการใช้งานแล้วเขาจะให้เงินทุนหรือร่วมลงทุนกับเราไม่มีทาง 1,000% ครับ ผมการันตี!)
4. สร้าง Mindset ใหม่ที่ว่า "ทำธุรกิจของเราให้ดีก่อน แล้วจะมีคนเห็นค่าของธุรกิจเราและเขาจะอยากร่วมลงทุนกับธุรกิจของเราเอง" โดยไม่ต้องไปขออ้อนวอนใคร และเมื่อนั้นคุณค่าจะอยู่กับธุรกิจสตาร์ทอัพของเราอย่างแน่นอนครับ!  และในที่สุดเราก็จะเป็นสตาร์ทอัพที่มีคุณค่าแตกต่างจากสตาร์ทอัพ
รายอื่นๆ อย่างแน่นอนครับ!

มีกูรูท่านหนึ่งในวงการสตาร์ทอัพระดับโลกกล่าวไว้ว่า "ถ้าผมรู้ว่าธุรกิจของผมมันดีผมจะลงทุนในธุรกิจของผมอย่างแน่นอนโดยที่ไม่ต้องรอให้ใครมาร่วมลงทุนกับผม"   ประโยคนี้ต้องตีความให้ดีน่ะครับ!เพราะมันเป็นความหมายแฝง อย่าตีความหมายผิดไปน่ะครับ ซึ่งถ้าถามผมว่าจะตีความประโยคนี้ได้อย่างไรให้ถูกต้องมันก็คือ  การใช้หลักคิด 4 ข้อ 1-4  ที่ผมเขียนไว้ข้างต้นนั่นเอง...ลองอ่านช้าๆ อีกรอบหรือหลายๆ รอบอีกครั้งก็ได้ครับ..แล้วพบกันใหม่ในเหตุผลที่ 5 ในบทความต่อไปน่ะครับ^^

 "ถ้าชอบบทความนี้ ขอแค่ขอบคุณและเป็นกำลังใจให้ผมในการเขียนบทความต่อๆ ไปก็พอแล้วครับ  ส่วนใครชอบก็กดไลท์ใครใช่ก็กดแชร์ได้ครับผม^^"

See you again!

***ติดตาม อาจารย์อ๊ะได้จากช่องทางด้านล่างนี้ครับ

1เฟสบุ๊คส่วนตัว(Facebook Profile)

2.1 เฟสบุ๊คแฟนเพจ1 (Fanpage)
***เน้นเรื่องแรงบันดาลใจ

2.2 เฟสบุ๊คแฟนเพจ2 (Fanpage)
***เน้นเรื่องการสอนธุรกิจให้คิดแบบ Startup

3. ยูทูป(YouTube)

4.อินสตาแกรม(Instagram) 

5.Line@ เพื่อเป็น FC ของอาจารย์อ๊ะ(พิมพ์หา @ajarnah) มีด้วย กดแอดเพิ่มเพื่อนทักมาได้เลยครับ!



ปลถ้าอาจารย์อ๊ะ ถ่ายทอดสด Live เฟสบุ๊ควันไหนจะแจ้ง FC ทุกท่านให้ทราบล่วงหน้าอีกครั้งน่ะใน Line@ น่ะครับ แล้วพบกันครับ

ผลงานเขียนของอาจารย์อ๊ะกับหนังสือชื่อ The Power of Positive Inspiration(แต่งเป็นภาษาอังกฤษที่คนไทยสามารถอ่านเข้าใจได้ง่าย) 
กดดาวน์โหลด(Download) อ่านได้แล้ววันนี้ที่ลิงค์ด้านล่างนี้เลยครับ!