วันเสาร์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2562

Growth Mindset เป็นเคล็ดลับที่อยู่เบื้องหลังของคนสตาร์ทอัพ(Startup) ทุกคน โดย อาจารย์อ๊ะ(The Prince of Startup)

Growth Mindset  เป็นเคล็ดลับที่อยู่เบื้องหลังของคนสตาร์ทอัพ(Startup) ทุกคน โดย อาจารย์อ๊ะ(The Prince of Startup)

     สวัสดี FC ของอาจารย์อ๊ะทุกคนประจำเดือน มิย นี้ น่ะครับ  "ช่วงนี้เราจะได้ยินคำว่า  Growth Mindset  กับ Fixed Mindset" กันอยู่บ่อยๆ ไม่ว่าจากทาง โลกออนไลน์หรือ โลก Off line หรือในวงการของหนังสือ ชื่อดังระดับโลก ที่ชื่อว่า  "Mindset-Changing the way you think to fulfil your potential" โดย Dr. Carol S. Dweck และก็มีคนไทยนำมาแปลเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เพื่อนๆ อาจลองไปหาอ่านดูได้น่ะครับ....แต่เดียวก่อนครับ  หลายคนกำลังงงว่าแล้วมันเกี่ยวอะไรกับ บทความสตาร์ทอัพในบทความนี้!....อืม นั่นสิครับ  เอาเป็นว่า บทความนี้ ผมตั้งใจจะเป็น ภาคต่อ ภาคขยายของบทความที่แล้ว ที่ชื่อ "5 Mindsets ที่เป็นเคล็ดลับจะเปลี่ยนคุณให้เป็นคนฝั่งเดียวกันกับคนสตาร์ทอัพ(Startup)" ดังนั้นถ้าใครยังไม่ได้อ่านบทความที่แล้ว สามารถกลับไปอ่านก่อนได้น่ะครับ! จะได้มีความต่อเนื่องกับบทความนี้




ถ้าจะถามว่า Growth Mindset  เกี่ยวข้องอย่างไร ?  กับการทำธุรกิจสตาร์ทอัพ คำตอบสั้นๆ  ก็คือ "สตาร์ทอัพต้องเน้นการเติบโต ถ้าไม่เติบโตก็ไม่เรียกว่าทำธุรกิจแบบแนวคิดสตาร์ทอัพที่เน้นการเติบโตเป็นจำนวนเท่า 2X, 5X หรือ 10X"  แต่ช้าก่อนน่ะครับ! หลายคนกำลังนำเรื่อง  Growth Mindset ไปผูกในเรื่องของการเติบโตอย่างเดียว จริงๆ อาจจะไม่ถูกต้องตามแนวคิดของ Dr. Carol S. Dweck เท่าไหร่นักเพราะอย่าลืมว่า คนที่ทำธุรกิจสตาร์ทอัพทุกคนก็ต้องเน้นการเติบโตทั้งนั้นล่ะครับ เพียงแต่ว่าใครจะนิยาม คำว่า "เติบโต" ด้วยนิยามของใครที่จะนำมาเป็นตัวชี้วัด(KPI) ในธุรกิจกัน ซึ่งถ้าจะยกความดีความชอบของแนวคิดนี้ที่สัมพันธ์กับการสร้างธุรกิจแบบสตาร์ทอัพ ผมจะอิงทฤษฎีของ สตาร์ทอัพที่ว่า  สตาร์ทอัพ = Experimental(การทดลอง) มากกว่า เพราะว่า "เราจะไม่รู้ถึงผลลัพธ์ของมันได้เลย ถ้าผลการทดลองยังไม่ถึงตอนท้ายของการทดลองว่ามันจะตรงกับสิ่งที่เราคิดที่เราตั้งสมมติฐานหรือทฤษฎีตั้งต้นของเราหรือไม่?" แล้วเราจะไปต่อกันอย่างไร(Pivot)?  อันนี้ล่ะครับ ที่จะเป็นหัวใจของบทความนี้ที่ผมได้นำเสนอ   ดังนั้น ถ้าจะถามถึง สมการของ สตาร์ทอัพที่ถูกต้องมันควรจะมาจาก 

        สตาร์ทอัพ = Experimental + Pivot  = Growth   หรือ ที่หลายคน ชอบเรียกว่า สตาร์ทอัพ = Growth นั่นเอง! 

แต่เคล็ดลับที่อยู่เบื้องหลังนี้ก็คือ "ทุกคนที่ทำธุรกิจสตาร์ทอัพนั้นต้องเรียนรู้ที่จะล้มให้เร็ว(Fail fast) และพร้อมที่จะลุกขึ้นแล้วเดินหรือวิ่งไปต่อโดยพร้อมที่เรียนรู้และทราบอยู่แล้วว่าหนทางข้างหน้าเราก็อาจจะเจอหลุมและล้มได้อีกเพียงแค่เราไม่หยุดเดินและนำเอาประสบการณ์ที่ผ่านมาของเราปรับเปลี่ยน Business Model เพื่อให้ธุรกิจของเราได้ไปต่อได้"  ดังนั้น คนที่แพ้หรือคนที่ล้มเลิกในธุรกิจสตาร์ทอัพก็คือ "คนที่ไม่พร้อมที่จะไปต่อนั่นเอง"  ดังนั้น ถ้าคนๆ นั้น มีแนวคิดที่ไม่โทษต่อโชคชะตาและนำแนวคิดของ Growth Mindset  เอาไปใช้งานจริงๆ  ทุกคนก็จะสามารถผ่านมรสุมชีวิตของวิกฤติของธุรกิจสตาร์ทอัพของเราได้ ซึ่งการ Pivot เพื่อให้ธุรกิจสตาร์ทอัพของเราให้ได้ไปต่อ เช่น 

1. Pivot ลูกค้า หรือแบ่ง Customer Segment ใหม่? หรือเปลี่ยน Persona กันไปเลย
2. Pivot ช่องทาง (Channel)  การมาของลูกค้าใหม่ 
3. Pivot Revenue Model (ช่องทางการได้รายได้ใหม่) 
4. Pivot Cost (คิดต้นทุนการดำเนินงานใหม่) 
5. Pivot Partner (เปลี่ยนคู่ค้าใหม่) 
6. Pivot Business Model ใหม่ หรือจะทำ Model A/B Testing ก็ไม่ว่ากันถ้ายังไม่มั่นใจ
7. Pivot Team (เปลี่ยนทีมใหม่) 

      ซึ่งเราควรจะทำจาก 1-7 ตามลำดับน่ะครับ ไม่ใช่ เอะอ่ะ อะไร ก็เปลี่ยนทีม, เปลี่ยนธุรกิจกันเป็นว่าเล่นแบบนี้ ไอเดียธุรกิจของเราจะช้ำหมดน่ะครับ  นั่นก็แปลว่า "เราอาจที่จะไม่พร้อมที่จะเป็นนักธุรกิจสตาร์ทอัพจริงๆ ก็เป็นไปได้" เพราะถ้า Pitching แค่ 3-7 นาที แล้วไม่ผ่านหรือรับไม่ได้กับคำตัดสินของกรรมการหรือ Pitching แล้วตกรอบแรกหรือ รอบที่ 2,3,4...N แล้วก็ยังไม่ผ่านไม่ถูกใจกรรมการซะที(จริงๆ) ควรให้โอกาสตัวเองถึง 3 ครั้งก่อนน่ะครับ!  เผื่อพิจารณาว่า "แต่ละครั้งที่เราไม่ผ่านการ Pitching เราได้เรียนรู้จากประสบการณ์อะไรบ้าง" เพื่อที่เราจะกลับมาเวทีใหม่เพื่อให้ "คมชัดจัดเต็มเล่นใหญ่"  ได้ดีมากขึ้น ซึ่งถ้าใครรับไม่ได้กับกระบวนการคัดกรองนี้ ก็ไม่น่าที่จะเหมาะกับ "วิถีของสตาร์ทอัพ" แล้วละครับ "เพราะในธุรกิจจริงนั้นโหดร้ายมากกว่า Comment ที่โหดร้ายจาก คณะกรรมการมากนัก"  ดังนั้นบทความนี้อาจารย์อ๊ะเขียนมาเพื่อให้  ทุกคนที่กระโดดเข้ามาใน "วิถีของสตาร์ทอัพ" ให้ทำการบ้านให้มากพอ มากพอที่จะบอกใครๆ ได้ว่า "ไม่มีใครรู้ดีที่สุดเท่ากับเราในธุรกิจสตาร์ทอัพของเราที่เราได้นำเสนอออกไป"  เพราะเราล้มมามากพอ ดังนั้น "ถ้าเราไม่ได้มองว่าโลกสวยเกินไปเราจะทำการบ้านมาเป็นอย่างดีในทุกๆ ครั้ง เพื่อที่เราจะได้ชนะในสนาม Pitching และในสนามจริงของธุรกิจของเรา" 

-ด้วยรัก-

อาจารย์อ๊ะ-สอนธุรกิจให้คิดแบบ Startup
(The Prince Of Startup)


"ถ้าชอบบทความนี้ ขอแค่ขอบคุณและเป็นกำลังใจให้ผมในการเขียนบทความต่อๆ ไปก็พอแล้วครับ  ส่วนใครชอบก็กดไลท์(Like) ใครใช่ก็กดแชร์(Share) ได้ครับผม^^"

See you again!

***ติดตาม อาจารย์อ๊ะได้จากช่องทางด้านล่างนี้ครับ

1. เฟสบุ๊คส่วนตัว(Facebook Profile)


2. เฟสบุ๊คแฟนเพจ (Fanpage)

3. ยูทูป(YouTube)

4.อินสตาแกรม(Instagram) 

5.กด Line เพื่อเป็น FC ของอาจารย์อ๊ะ(พิมพ์หา @ajarnah) มี@ ด้วย กดแอดเพิ่มเพื่อนทักมาได้เลยครับ!



ปล. ถ้าอาจารย์อ๊ะ ถ่ายทอดสด Live เฟสบุ๊ควันไหนจะแจ้ง FC ทุกท่านให้ทราบล่วงหน้าอีกครั้งน่ะใน Line@ น่ะครับ แล้วพบกันครับ

ผลงานเขียนของอาจารย์อ๊ะกับหนังสือชื่อ The Power of Positive Inspiration(แต่งเป็นภาษาอังกฤษที่คนไทยสามารถอ่านเข้าใจได้ง่าย
กดดาวน์โหลด(Download) อ่านได้แล้ววันนี้ที่ลิงค์ด้านล่างนี้เลยครับ!