ผมได้เขียนเหตุผลลำดับที่ 1-3 ไว้ใน เนื้อหาของบทก่อนหน้า 2 บทแล้วน่ะครับ ถ้าท่านผู้อ่านท่านใดที่เพิ่งมาเห็นบทความนี้ "ต้องขอรบกวนย้อนกลับไปอ่านตั้งแต่บทเเรกก่อนน่ะครับ" เพื่อให้ได้อรรถรสความต่อเนื่องในการอ่านและการเรียงลำดับการคิดแต่ ถ้าไม่อยากย้อนก็อ่านบทนี้ก่อนก็ได้ครับ...จะได้ไม่เสียเวลาท่านผู้อ่านกัน...แล้วค่อยย้อนกลับไปอ่านตอนที่ 1-2 กันต่อ!
วันนี้ผมจะมาพูดถึงเหตุผลลำดับที่ 4 ว่า ทำไม "คนชอบทำธุรกิจด้วยแนวคิดของ Startup" กัน ลองเดากันมาครับ!! ใครจะตอบถูกมั่งเอ่ย....
1.....เงิน ?
2........เวลา ?
3............สุขภาพ ?
...
....
ผมขอเฉลยดีกว่าว่าเหตุผลในลำดับที่ 4 มันคืออะไรกันแน่? ไม่ต้องเถียงผมหรอกว่าคุณไม่ต้องการมัน 555 เพราะเหตุผลขอนี้มันคือ........."เงิน" ครับ! เอ้า ก็ทุกธุรกิจมันก็ต้องการเงินไม่ใช่หรอครับ ธุรกิจสตาร์ทอัพก็เหมือนกัน...แต่เรากำลังพูดถึง "เงินทุน" ในการเริ่มต้นธุรกิจสตาร์ทอัพอาจไม่จำเป็นต้องใช้เงินทุนมากหรือไม่ต้องใช้มันเลยก็ได้ครับ" ....และนี่คือที่มาของเหตุผลข้อที่ 4 ที่ว่า......(อ่านต่อด้านล่างครับ!)
เหตุผลที่ 4: คนส่วนใหญ่คิดว่าทำสตาร์ทอัพแล้วต้องคอยหาแหล่งทุนอยู่ร่ำไป? มีทุนที่ไหนให้ไปขอให้หมด! แถมยังเจอหน้ากันซ้ำๆ ด้วยน่ะ 555
เหตุผลสนับสนุน: ทุกธุรกิจต้องอาศัย "เงินทุน" ทั้งนั้นไม่ว่า เราจะใช้เงินตัวเอง, แหล่งเงินทุนจากสถาบัน, ขอยืมเงินจากพ่อแม่พี่น้องหรือเพื่อนหรือ คนอื่นที่เราไปขายไอเดียไว้ จนมีคนกว่าไว้ว่าแหล่งเงินทุนของสตาร์ทอัพมาจาก 3F(Family, Friend and Fool) ***Fool อาจหมายถึงบุคคลใดๆ ก็ตามที่เราไปขายไอเดียขายฝันไว้แล้วเขาให้เงินมาร่วมลงทุนกับเราด้วยแต่อย่าแปลตรงตัวตามศัพท์ในภาษาอังกฤษน่ะครับ 555 เพราะว่าคงไม่ดีนักกับผู้ที่ให้เงินทุนเรามา ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่า ทุกคนที่เข้ามาในวงการสตาร์ทอัพก็จะมองหาแหล่งเงินทุนไปเรื่อยๆ บางโครงการก็อาจไป Pitching ไอเดีย(นำเสนอไอเดียธุรกิจให้คณะกรรมการหรือผู้ร่วมลงทุน) นั้นในหลายๆ เวที จนคณะกรรมการจำได้ 555 หรือไปเจอเพื่อนเก่าที่เคยไปเจอกันในเวทีอื่นๆ ที่ผ่านมา ดังนั้นไม่แปลกครับ ที่ใครหลายคนมี Mindset ที่เข้ามาในธุรกิจสตาร์ทอัพแล้ววันๆ ก็จะหาแหล่งเงินทุนอยู่ร่ำไป...มันไม่ผิดครับแต่ผมมีคำถามให้ทุกท่านชวนชุกคิดใหม่ทำใหม่ในความจริงด้านล่างนี้
ความจริง: คือ "สมมติในทางกลับกัน" ถ้าเราเป็นผู้ที่ให้ทุนกับสตาร์ทอัพ 2 ราย รายที่ 1 มีแนวความคิดไอเดียมี Traction ดีมาก (***Traction คือ มีผู้ใช้งานหรือมีลูกค้าเข้าใช้บริการเราอย่างต่อเนื่องและเติบโตแบบก้าวกระโดด) และยังมีจุดแข็งและความได้เปรียบที่ไม่แฟร์(Unfair Advantage) (ภาษาสตาร์ทอัพหมายถึง จุดที่เราได้เปรียบจากคู่แข่งอยู่มากจนทำให้เรามีจุดเเข็งที่คู่แข่งยากที่จะเข้ามาแข่งขันกับเรา เช่น เรารู้จักรู้ค้า TOP 3 ในตลาดของเรา หรือเรามีลูกค้าที่มีสัดส่วน 70% ของตลาดรวม หรือเราได้สัมปทานผูกขาดมา 5-10 ปี หรือเทคโนโลยีนี้ไม่มีใครสามารถเลียนแบบเราได้เพราะเราเป็นผู้คิดค้นและผ่านการทดสอบจากสถาบันอันดับ 1 ของกลุ่มอุตสาหกรรมเป็นรายแรกของประเทศไทย และเรากำลังจะขยายตลาดออกไปคลอบคลุมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภายในสิ้นปีนี้จากการทดสอบการให้บริการและ Feedback ที่ดีในการตอบรับลูกค้า ทั้ง 3 ประเทศ...บรา บรา บรา ส่วนอีกรายมีแต่ไอเดียที่วาดฝันสวยหรูอยู่บนกระดาษและบน Presentation ที่ สวยงามมากแต่ไม่มี Traction หรือ Unfair advantage เลย คำถามคือ คุณจะเลือกลงทุนกับสตาร์ทอัพรายที่ 1 หรือ รายที่ 2 มากกว่ากันครับ? คำตอบคือ เราจะอยากร่วมลงทุนกับสตาร์ทอัพรายที่มี Traction และ Unfair advantage อย่างแน่นอน 1,000% และแปลกมากสตาร์ทอัพเหล่านี้ ก็ไม่ค่อยมีนิสัยที่จะชอบไปเสนอไอเดียขายให้ใครมาร่วมลงทุนแต่แปลกที่นักลงทุน(Venture Capital) จะหาเจอเองและอยากจะร่วมลงทุนกับสตาร์ทอัพรายที่ว่านี้ เกมส์เปลี่ยนสลับขั้วกันไปเลยครับ "แทนที่สตาร์ทอัพจะเป็นผู้ถูกเลือกจากนักลงทุน กลับเป็นว่าสตาร์ทอัพเจ้านั้นกลับเป็นผู้เลือกว่าจะให้ใครมาร่วมลงทุนกับเรา" แบบนี้คุณค่าอยู่กับสตาร์ทอัพผู้นั้นแน่นอนครับหรืออาจกล่าวได้ว่า "เป็นสตาร์ทอัพที่เนื้อหอมใครๆ ก็อยากมาร่วมลงทุนกับเรา" ทุกท่านอยากเป็นแบบนี้ใช่ไหมครับ? ถ้าคำตอบคือ "ใช่" ผมสนับสนุนแนวความคิดนี้อยากเต็มที่ครับ มาทำตัวเป็นสตาร์ทอัพเนิ้อหอมกันมากกว่าที่จะมัวแต่ไปวิ่งขอเงินทุนสถานเดียว! โดยใช้หลักคิด 4 ข้อด้านล่างนี้ได้เลยครับ
1. สร้างความได้เปรียบที่ไม่แฟร์(Unfair Advantage) ให้เกิดขึ้นในธุรกิจสตาร์ทอัพของเราให้เร็วที่สุดและมองไปข้างหน้าให้ยั่งยืนเทียบกับคู่แข่งหรือธุรกิจใกล้เคียงกับเรา
2. มี Traction สะสมก่อนค่อยไปขอเงินทุนทุกครั้ง!
3. ถ้าเป็นสตาร์ทอัพที่เป็นระยะ Ideal state(ระยะที่เป็นไอเดีย) ถ้าคุณอยากได้แหล่งเงินทุนคุณยิ่งต้องมีฐานผู้ที่เคยใช้สินค้าหรือบริการของคุณแล้วบ้างก่อนที่จะไปขอเงินทุน....(***อย่าไปเชื่อใครน่ะครับว่า มีแค่ไอเดียเฉยๆ แต่ไม่เคยผ่านการทดสอบการใช้งานแล้วเขาจะให้เงินทุนหรือร่วมลงทุนกับเราไม่มีทาง 1,000% ครับ ผมการันตี!)
4. สร้าง Mindset ใหม่ที่ว่า "ทำธุรกิจของเราให้ดีก่อน แล้วจะมีคนเห็นค่าของธุรกิจเราและเขาจะอยากร่วมลงทุนกับธุรกิจของเราเอง" โดยไม่ต้องไปขออ้อนวอนใคร และเมื่อนั้นคุณค่าจะอยู่กับธุรกิจสตาร์ทอัพของเราอย่างแน่นอนครับ! และในที่สุดเราก็จะเป็นสตาร์ทอัพที่มีคุณค่าแตกต่างจากสตาร์ทอัพ
รายอื่นๆ อย่างแน่นอนครับ!
มีกูรูท่านหนึ่งในวงการสตาร์ทอัพระดับโลกกล่าวไว้ว่า "ถ้าผมรู้ว่าธุรกิจของผมมันดีผมจะลงทุนในธุรกิจของผมอย่างแน่นอนโดยที่ไม่ต้องรอให้ใครมาร่วมลงทุนกับผม" ประโยคนี้ต้องตีความให้ดีน่ะครับ!เพราะมันเป็นความหมายแฝง อย่าตีความหมายผิดไปน่ะครับ ซึ่งถ้าถามผมว่าจะตีความประโยคนี้ได้อย่างไรให้ถูกต้องมันก็คือ การใช้หลักคิด 4 ข้อ 1-4 ที่ผมเขียนไว้ข้างต้นนั่นเอง...ลองอ่านช้าๆ อีกรอบหรือหลายๆ รอบอีกครั้งก็ได้ครับ..แล้วพบกันใหม่ในเหตุผลที่ 5 ในบทความต่อไปน่ะครับ^^
"ถ้าชอบบทความนี้ ขอแค่ขอบคุณและเป็นกำลังใจให้ผมในการเขียนบทความต่อๆ ไปก็พอแล้วครับ ส่วนใครชอบก็กดไลท์ใครใช่ก็กดแชร์ได้ครับผม^^"
See you again!
***ติดตาม อาจารย์อ๊ะได้จากช่องทางด้านล่างนี้ครับ
1. เฟสบุ๊คส่วนตัว(Facebook Profile)
2.1 เฟสบุ๊คแฟนเพจ1 (Fanpage)
***เน้นเรื่องแรงบันดาลใจ
2.2 เฟสบุ๊คแฟนเพจ2 (Fanpage)
***เน้นเรื่องการสอนธุรกิจให้คิดแบบ Startup
3. ยูทูป(YouTube)
4.อินสตาแกรม(Instagram)
5.Line@ เพื่อเป็น FC ของอาจารย์อ๊ะ(พิมพ์หา @ajarnah) มี@ ด้วย กดแอดเพิ่มเพื่อนทักมาได้เลยครับ!
ปล. ถ้าอาจารย์อ๊ะ ถ่ายทอดสด Live เฟสบุ๊ควันไหนจะแจ้ง FC ทุกท่านให้ทราบล่วงหน้าอีกครั้งน่ะใน Line@ น่ะครับ แล้วพบกันครับ!
ผลงานเขียนของอาจารย์อ๊ะกับหนังสือชื่อ The Power of Positive Inspiration(แต่งเป็นภาษาอังกฤษที่คนไทยสามารถอ่านเข้าใจได้ง่าย)
กดดาวน์โหลด(Download) อ่านได้แล้ววันนี้ที่ลิงค์ด้านล่างนี้เลยครับ!
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น