วันศุกร์ที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2562

แม้ Startup Thailand 2019 จะผ่านไปแล้วแต่.........

แม้ Startup Thailand 2019 จะผ่านไปแล้วแต่.........


ผมมีประเด็นที่ผมได้สัมผัสและขยายต่อในบางประเด็นจากประสบการณ์ในวันงานจริงและกับประสบการณ์ส่วนตัวของการเป็นสตาร์ทอัพซึ่งมี ประมาณ 5 ประเด็น สรุปเป็นข้อคิดที่มีทั้งเห็นด้วยและทั้งเห็นต่าง "ใครที่เป็น สตาร์ทอัพ(Startup) ทั้งมือใหม่ มือเก่าและมือเก๋าให้ลองถกกันในประเด็นเหล่านี้ครับ"



ประเด็นที่ 1: เรื่องของ Young Entrepreneur (ผู้ประกอบการรุ่นเยาว์) ส่วนใหญ่จะเน้นที่เด็กมหาวิทยาลัย 


เรื่องที่ผมเห็นด้วย: ความตื่นตัวของการเป็นผู้ประกอบการณ์ตั้งแต่เรียนที่มหาวิทยาลัยเพิ่มขึ้น ผมเห็นด้วยครับ

เรื่องที่ผมไม่เห็นด้วย: กระแสที่นักศึกษาต้องลาออกหรือ Drop การเรียนแล้วกระโจนลงสู่ โลกของ Startup นักเรียนและนักศึกษาทุกคนควรคิดให้รอบคอบครับ เรื่องเดียวที่เด็กรุ่นใหม่จะแพ้คนรุ่นเก่าคือเรื่องของ "ภูมิต้านทานเวลาที่ผิดหวัง และสุดท้ายจะล้มเลิกได้ง่าย" เพราะโลกแห่งความฝันกับโลกแห่งความเป็นจริงมันโหดร้ายและไม่ได้สวยงามตามความฝันครับ ยิ่งเด็กรุ่นใหม่ไฟแรงเท่าไหร่ยิ่งต้องระวัง เพราะมันเหมือนกับ ขับรถด้วยความเร็วสูง 180 Km/Hr แล้วจู่ๆ เครื่องเกิดดับหรือเจอทางที่เป็นหลุมขนาดใหญ่หรือขับไปทางผิดหลงทางในที่มืดหาทางออกไม่ได้และยิ่งเรามีเงินลงทุนจากตัวเองมากเท่าไหร่? เราจะไม่คุ้นกับคำว่า "จงใช้เงินอย่างคุ้มค่าในเรื่องที่จำเป็นก่อน" เพราะเงิน 1 ล้านของตัวเอง กับ เงิน 1 ล้านของนักลงทุนที่ให้กับเรา จะทำให้เรามีความรู้สึกของการใช้เงินที่แตกต่างกันมากครับใช่หรือไม่ใช่....ลองทบทวนกันให้ดี??

ประเด็นที่ 2: เรื่องของคนที่เกษียณอายุตัวเองก่อนในวัยทำงานแล้วหันมาทำธุรกิจ Startup 

เรื่องที่ผมเห็นด้วย: ผมเห็นด้วยมากกว่าการสนับสนุนให้เด็กมหาวิทยาลัยลาออกมาทำ Startup เพราะอายุเฉลี่ยของคนที่ทำ Startup แล้วจะประสบความสำเร็จจะอยู่ในอายุช่วง 30-45 ปี ครับ ดังนั้นความได้เปรียบของคนที่เคยมีประสบการณ์ทำงานมาแล้ว 5-10 ปี ย่อมได้เปรียบในแง่ของ ภูมิต้านทานเวลาที่ผิดหวังและมีสาย Connection กับเพื่อนๆ ในวงการอาชีพที่เคยทำงานอยู่ จุดนี้คนกลุ่มนี้จะได้เปรียบกว่าน้องๆ ในมหาวิทยาลัยอยู่มากและกระแสโลก คนอายุ 60 ปี เช่นในประเทศญี่ปุ่นยังสามารถเป็น Founder ของบริษัทสตาร์อัพของตัวเองที่เปิดใหม่ได้เลยครับ

เรื่องที่ผมไม่เห็นด้วย: "ถ้าตัดสินใจเริ่มต้นเป็น Startup แล้วห้ามเริ่มต้นเป็น SME" เพราะ Model ของธุรกิจนั้นแตกต่างกันมากแต่ถ้าใครเป็น SME มาก่อนแล้วหันมาใช้เครื่องมือทางแนวคิดของ Startup อันนี้ ถือว่าดีมากครับ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ Technology ใหม่ๆ หรือวิธีการ Scale ธุรกิจแบบที่ไม่ต้องเพื่ม Fixed Asset มาก เป็นต้นและสิ่งที่ควรทำก็คือ ให้ลองหาเด็กรุ่นใหม่ที่มีแนวคิดทางเทคโนโลยีเข้ามาอยู่ในทีมงานครับ ห้าม Form Team โดยที่มีแต่คนรุ่นเก่าเด็ดขาด เพราะคุณจะถกประเด็นแล้ววนกลับไปที่การขยายธุรกิจโดยการเพิ่ม Asset หรือ Resource ทุกครั้งหรือไม่ก็ต้องวางแผนการกู้เงินจากแบงค์แบบ SME ทำกันใช่หรือไม่ใช่...ลองทบทวนกันให้ดี??

ประเด็นที่ 3: แนวคิดเรื่องของ Global Market หรือ International Market vs Local Market 

เรื่องที่ผมเห็นด้วย: ใช่ครับ ผมเห็นด้วยและสนับสนุนให้ Startup ไทย มองไปที่ตลาดโลกหรือระหว่างประเทศเช่น มองไปที่ตลาดอินโดนีเซียที่ มี ประชากร กว่า 200 ล้านคน เป็นต้น ดังนั้นการมองตลาดของ Startup ไม่ควรจะมองแค่ Passion ของตัวเองว่าอยากจะทำโน้น นี่ นั้น โดยไม่ได้คำนึงถึงขนาดของตลาด(Market Size) จริงๆ เพราะบางครั้งสิ่งที่อยากทำอาจไม่มีตลาดมารองรับ ในขณะที่สิ่งที่มีตลาดมารองรับกลับเป็นสิ่งที่ไม่อยากทำ ดังนั้น เราต้องหาตรงกลางระหว่าง Passion กับ Market Size ให้ได้ครับ เพราะ สมการของผมก็คือ Revenue = Passion+Market Size -Obstacle(อุปสรรค) เพราะยิ่งเรามีอุปสรรคในการดำเนินธุรกิจมากเท่าไหร่ย่อมส่งผลกระทบให้รายได้เราลดลงมากเท่านั้นครับ 
...ดังนั้นอย่ามองโลกสวยไปกว่าการมองโลกด้วยความเป็นจริงครับ!!!! บางครั้งการมองโลกในแง่ดีไม่สามารถใช้ได้ในโลกของการทำธุรกิจสตาร์ทอัพน่ะครับ มิฉะนั้นคงไม่มีใครที่บัญญัติคำศัพท์ (Pivot) ธุรกิจกันในโลกของ Startup 

เรื่องที่ผมไม่เห็นด้วย: บางครั้งเราก็มุ่งตลาด Inter Market จนเกินไปโดยลืมไปว่า เราเองมีความชำนาญในตลาด Local มากกว่าใคร? ลองนึกภาพว่า มีต่างประเทศเข้ามาทำตลาด Startup ในบ้านเราในบางเรื่องที่เราเองก็ไม่คิดหรือคิดแล้วก็ไม่ทำหรือทำไม่ได้หรือเราไม่เริ่มต้นทำกันแน่....เราจะมีข้ออ้างสารพัด ดังนั้น "ความเป็นผู้เชี่ยวชาญในตลาด Local ให้ได้ก่อนเป็นสิ่งที่จำเป็นของ Startup หรือใช้สุภาษิตประโยคนี้ก็ได้ครับ "ตาดูดาวแต่เท้าติดดิน" จะทำให้เรารู้สึกว่าเราได้เข้าถึงลูกค้าของเราได้มากกว่าใคร....ใช่หรือไม่ใช่...ลองทบทวนกันให้ดี??

ประเด็นที่ 4: เรื่องของแหล่งเงินทุนมีมากกว่า Startup ที่มาใช้บริการ (Supply > Demand) 

เรื่องที่ผมเห็นด้วย: ผมรู้สึกว่าเวลาทำ Startup ไปนานๆ มีคนมาให้เงินลงทุนมากกว่าในอดีต ทั้งส่วนตัวและภาพใหญ่ โดยบางครั้งเรากำลังจะบอกกับตัวเองว่า "วันนี้ไม่ว่าจะเป็นแบงค์หรือ VC หรือ CVC ต่างที่จะมาลงทุนใน Startup เพิ่มขึ้นทั้งๆ ที่รู้ว่ามันเสี่ยงมากกว่าหุ้น เงินลงทุนอาจจะหายไปเลย แต่ก็มีคนมากล้าที่จะเสี่ยงกับเรา ประเด็นมันไม่ได้อยู่ที่ ความน่ายินดีที่จะมีเงินจากผู้อื่นมาให้เราลงทุน แต่ประเด็นมันอยู่ที่ "เราเป็น Startup ที่ดีพอที่จะให้คนอื่นมาร่วมลงทุนด้วยหรือยัง" ???? มีหลาย Startup ถูกตั้งคำถามว่า ถ้าได้เงิน 1 ล้านบาท 5 ล้านบาท 10 ล้านบาท 30 ล้านบาท จะเอาเงินลงทุนนั้นไปทำอะไร? คำตอบคือ....เออ ก็ยังไม่ทราบเหมือนกันครับ!!!!.......ถ้าเป็นแบบนี้ใครที่ไหน จะกล้าให้เงินเรามาลงทุนครับใช่หรือไม่ใช่...ลองทบทวนกันให้ดี??

เรื่องที่ผมไม่เห็นด้วย: การได้เงินจากภาครัฐบาลยิ่งมีขั้นตอนมากเท่าไหร่และช้ามากเท่าไหร่ผมเป็นคนหนึ่งล่ะที่จะแสวงหาแหล่งเงินทุนจากภาคเอกชนแทน แต่ผมไม่ได้หมายความว่าภาครัฐไม่ดีน่ะครับแค่ผมต้องการความรวดเร็วเท่านั้นยิ่งอะไรที่เป็นโครงสร้างลำดับชั้นยิ่งไม่เหมาะในเรื่องของความรวดเร็วครับ ถึงแม้จะมีการสนับสนุนจากภาครัฐก็ตาม ดังนั้นการให้เงินทุนของภาครัฐควรต้องประเมินถึงจุดนี้ด้วยครับ ผมแค่พูดถึงความรวดเร็วเพียงแค่ประเด็นเดียวน่ะครับ ...ใช่หรือไม่ใช่...ลองทบทวนกันให้ดี??

ประเด็นที่ 5: เรื่องของ Passion ความหวัง Hope และการ Adopt Technology & Culture 

เรื่องที่ผมเห็นด้วย: เรื่องของ Passion ความหวัง Hope และ การ Adopt Technology & Culture เป็นสิ่งที่ทุกคนต้องมีในการทำธุรกิจสตาร์ทอัพอยู่แล้วครับ แต่ควรจะนำมาใช้ในช่วงเวลาและลำดับการใช้ที่ต่างกันแค่นั้นเอง

เรื่องที่ผมไม่เห็นด้วย: แรกๆ เวลาทำ Startup ทุกคนมักจะเริ่มต้นจาก Passion น่ะครับ อาจเป็น Passion สนองตัวเองหรือสังคมหรือคนใกล้ตัว Moment ที่เต็มไปด้วยความหวัง Hope โดยการนำเอา Technology หรือ Culture จากต่างประเทศบางอย่างมาใช้ในบ้านเราแต่เรื่องบางเรื่องเราก็ไม่ควรจะ Copy มันมาแบบตรงๆ โดยไม่ได้ศึกษาตลาดบ้านเรา (Local Market) หรือง่ายๆ ว่า "ถ้ามันไม่ถูกจริตกับตลาดบ้านเรา แล้วมันจะขายได้อย่างไรครับ" ดังนั้นถ้าเป็นสมัยก่อนเวลาที่จะเริ่มต้น ธุรกิจสตาร์ทอัพ มันก็อาจจะเริ่มต้นจาก Passion หรือ Pain/Gain จากลูกค้า แต่ในปัจจุบันนี้ เรื่อง "จริตกับ Market Size อาจเป็นเรื่องที่สำคัญกว่า 2 อย่างแรกก็เป็นไปได้ครับ"...ใช่หรือไม่ใช่...ลองทบทวนกันให้ดี?? อันนี้คือเรื่องปัจจัยภายนอกน่ะครับ แต่ถ้าปัจจัยภายในผมจะยกให้เรื่อง "ทีมงาน" สำคัญที่สุดเพราะธุรกิจสตาร์ทอัพจะปรับจะเปลี่ยนอะไรยังไงก็ได้ตลอดแต่กับการเปลี่ยนทีมงานอันนี้เรื่องใหญ่ครับ......ใช่หรือไม่ใช่...ลองทบทวนกันให้ดี??

ถ้าชอบบทความนี้....สามารถแชร์เพื่อเป็นประโยชน์ให้กับเพื่อนๆ หรือคนที่คุณรักในวงการสตาร์ทอัพหรือคนที่จะทำธุรกิจสตาร์ทอัพหรือผู้ที่สนใจแนวคิดของธุรกิจสตาร์ทอัพได้ครับ
และมาร่วมกันพัฒนา Startup ไทยของเราไปด้วยกันครับ

อาจารย์อ๊ะ
#สอนธุรกิจให้คิดแบบStartup


อาจารย์อ๊ะ-สอนธุรกิจให้คิดแบบ Startup

 "แล้วพบกันใหม่ในบทความหน้าครับผมและสามารถติดตามผมได้ที่ช่องทางด้านล่างเหล่านี้ รวมถึงสามารถเป็น FC ของผมเพื่อรับข้อมูลธุรกิจสตาร์ทอัพและแนวคิดทางธุรกิจและเรื่องราวที่เป็นแรงบันดาลใจอีกมากมายได้ที่ ไลน์ พิมพ์หา ที่ @ajarnah (มี@) แล้วพบกันครับ!  "เหล่ามิตรรักแฟนคลับสตาร์ทอัพของอาจารย์อ๊ะทุกคน" 


-ด้วยรัก-

อาจารย์อ๊ะ-สอนธุรกิจให้คิดแบบ Startup
(The Prince Of Startup)


"ถ้าชอบบทความนี้ ขอแค่ขอบคุณและเป็นกำลังใจให้ผมในการเขียนบทความต่อๆ ไปก็พอแล้วครับ  ส่วนใครชอบก็กดไลท์(Like) ใครใช่ก็กดแชร์(Share) ได้ครับผม^^"

See you again!

***ติดตาม อาจารย์อ๊ะได้จากช่องทางด้านล่างนี้ครับ

1เฟสบุ๊คส่วนตัว(Facebook Profile)

2.1 เฟสบุ๊คแฟนเพจ1 (Fanpage)
***เน้นเรื่องแรงบันดาลใจ

2.2 เฟสบุ๊คแฟนเพจ2 (Fanpage)
***เน้นเรื่องการสอนธุรกิจให้คิดแบบ Startup

3. ยูทูป(YouTube)

4.อินสตาแกรม(Instagram) 

5.Line@ เพื่อเป็น FC ของอาจารย์อ๊ะ(พิมพ์หา @ajarnah) มีด้วย กดแอดเพิ่มเพื่อนทักมาได้เลยครับ!


ปลถ้าอาจารย์อ๊ะ ถ่ายทอดสด Live เฟสบุ๊ควันไหนจะแจ้ง FC ทุกท่านให้ทราบล่วงหน้าอีกครั้งน่ะใน Line@ น่ะครับ แล้วพบกันครับ

ผลงานเขียนของอาจารย์อ๊ะกับหนังสือชื่อ The Power of Positive Inspiration(แต่งเป็นภาษาอังกฤษที่คนไทยสามารถอ่านเข้าใจได้ง่าย) 
กดดาวน์โหลด(Download) อ่านได้แล้ววันนี้ที่ลิงค์ด้านล่างนี้เลยครับ!



ธุรกิจขายตรงกับการจัดการ Supply Chain: ความสำเร็จที่ต้องอาศัยการจัดการที่ครอบคลุม โดย อาจารย์อ๊ะ-ที่ปรึกษา Startup สำหรับ SME

  ✅ธุรกิจขายตรงกับการจัดการ Supply Chain: ความสำเร็จที่ต้องอาศัยการจัดการที่ครอบคลุม 😊ธุรกิจขายตรง (Direct Selling) ยังคงเป็นหนึ่งในโมเดลธ...