วันอังคารที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2562

Do and Don't แนวคิดของสตาร์ทอัพ(Startup)โดย อาจารย์อ๊ะ(The Prince of Startup)

"สงสัยผมต้องเขียนเรื่องราวของสตาร์ทอัพ(Startup) แบบจริงจังซะทีล่ะเพื่อป้องกันความเข้าใจผิดของใครหลายๆ คนที่นำเอาคำว่า Startup ไปใช้งานในทางที่ผิดๆ ไม่ได้ออกมาปกป้องน่ะครับ แต่ออกมา สนับสนุนแนวคิดของมันให้ถูกต้อง! คนที่มาทีหลังจะได้เข้าใจ ส่วนคนที่เอาไปใช้งานผิดๆ ก็จะได้เข้าใจเพิ่มขึ้น" คงต้องกลับมาที่ ความเข้าใจเดิมของมันก่อนดีกว่าครับ...ก่อนที่อะไรๆ มันจะสายเกินไป!!!

    
อาจารย์อ๊ะ-สอนธุรกิจให้คิดแบบStartup
   
Don't(ข้อห้ามที่ไม่ควรทำกัน)
1. คนทำโมษณาไม่ควรเอาคำว่า Startup ไปผูกกับธุรกิจขายตรงน่ะครับ ไม่ใช่ว่าธุรกิจขายตรงไม่ดีน่ะครับ เพียงแต่ว่าไม่ควรไปขาย Marketing ของคำว่า Startup ซึ่งเป็น Key word ที่คนทั่วไปอ่านแล้วอยากจะสนใจและทำความรู้จักกับมันแต่สุดท้ายอาจตกเป็นช่องว่างของคำโมษณาได้ครับ ดังนั้นคนที่เห็นที่เข้าใจเขาอาจจะประเมินคนที่ทำโมษณานี้ไปในทางลบได้ครับ!

2. Startup(สตาร์ทอัพ) จุดเริ่มต้นไม่ใช่แนวคิดที่จะโตแบบ SME สมัยเก่าน่ะครับดังนั้น Startup ไม่ใช่จะเติบโตแบบ SME แต่ SME ทุกคนก็ล้วนผ่านการเริ่มต้นเป็น Startup(ธุรกิจที่เกิดใหม่มาก่อน ปล. ถ้าใครแปลคำศัพท์คำนี้ตรงตัว แน่นอนว่า Startup = เกิดขึ้น = เริ่มต้นใหม่) แต่รากเหง้าของกูรูตะวันตก Eric Ries ผู้แต่ง Lean Startup(เอาแนวคิดมาจากการผลิตแบบโตโยต้า Toyota Production System) ก็บอกว่า ธุรกิจ Startup ต้องเป็นธุรกิจที่ Scalable กับ Repeatable ได้ ส่วนเจ้าพ่อ Steveblank ก็บอกนิยาม Startup เป็นองค์กรชั่วคราวที่ก่อตั้งภายใต้ความไม่แน่นอนสูงมาก....น่าเสียดายที่ คำว่า SME เกิดก่อนเป็น 10-20 ปี แต่ไม่ดังเปรี้ยงปร้างเท่ากับคำว่า Startup จน SME ไทยในทุกภาครัฐภาคเอกชนต้องบรรจุคำว่า Startup เข้าไปเทียบเคียงกับ คำว่า SME ในทุกวงการ...นี่คือเรื่องจริง และ หลายๆ SME กำลังเลียนแบบการเติบโตของธุรกิจ Startup นำมาปรับใช้ในธุรกิจเดิมกัน อันนี้ไม่ผิดกติกาใดๆ ครับผมสนับสนุนเต็มที่ เพียงแต่คนที่จะทำธุรกิจแบบสตาร์ทอัพห้ามคิดว่าตัวเองเริ่มต้นเป็น SME ตั้งแต่ตอนแรก...ห้ามคิดแบบนี้เด็ดขาดเพราะถ้าคิดจะเป็น SME ก็ต้องใช้แนวคิดแบบ SME ทำงานจะดีกว่าครับ อย่าเล่นไปตามกระแส!

Do(สิ่งที่ควรทำ)
1.ให้ระลึกไว้เสมอครับ อัตราส่วนของผู้ที่ล้มเหลวในการก่อตั้งธุรกิจสตาร์ทอัพ(Startup) ยังคงมีในอัตราที่สูงมาก ตามทฤษฎีก็มากกว่า 90%-95% ดังนั้น การเป็น Startup ไม่ได้เท่ห์และไม่ได้สบายอย่างที่คิดครับ...ข้อดีคือมันจะช่วยกรองตัวจริงให้เกิดขึ้นในธุรกิจนั้นๆ อย่างแน่นอน เพราะคนที่ไม่ใช่ก็ค่อยๆ ล้มหายตายไปอย่างเงียบๆ แต่ที่ผมพูดไม่ใช่ให้คนอ่านท้อแท้น่ะครับ เพียงแต่ต้องสะกดตัวเองทั้งจิตใจที่เข้มแข็งอยู่ตลอดเวลา

2. ประสบการณ์จำเป็นมากครับในทีมงานจากการสำรวจเราจะพบว่าถ้าทีมไหนเป็นคนรุ่นใหม่ทั้งหมดไม่เคยทำธุรกิจกันมาโอกาสรอดยากแต่กลับกันถ้าทีมไหนเคยทำธุรกิจหรืออยู่ในวงการธุรกิจนั้นๆ มาก่อนกลับรอดไปต่อได้ดังนั้น จุดนี้ เด็กรุ่นใหม่ควรสร้างทีมโดยการดึงผู้ที่มีประสบการณ์ทางธุรกิจเข้าร่วมด้วยเสมอครับ!

3.แนวคิดของธุรกิจสตาร์ทอัพ(Startup) ไม่จำเป็นต้องใช้แต่กับธุรกิจแบบสตาร์ทอัพเสมอไปน่ะครับ มันยังสามารถนำมาใช้กับ SME, แม่ค้าออนไลน์, ธุรกิจแบบดั้งเดิมอื่นๆ ได้ดีที่เดียว เช่น

อย่างเรื่อง MVP(Minimum Viable Product) การสร้างผลิตภัฑน์ขั้นต้นที่สามารถใช้งานได้ตรงกับสิ่งที่ลูกค้าต้องการในขั้นต้น .....ถ้าเป็นสมัยก่อน กว่าจะวิจัยทำสินค้าออกมา งบวิจัยบานปลายกับเวลาแรมปีแน่นอนครับ ดังนั้นหลายธุรกิจควรเอาวิธีนี้ไปปฎิบัติเลยครับ!

และในเรื่องของ BMC(Business Model Canvas) จะขอยกตัวอย่างการใช้ Lean Canvas น่ะครับ ถ้าเป็นแผนธุรกิจแบบเดิม ต้องใช้เวลาทำหลายเดือน พอมาใช้ Lean Canvas ทำแผนธุรกิจเพื่อไปทดสอบตลาดได้ภายใน 5 นาที อะไรแบบนี้ มันทำให้ Speed to Market ของเราได้เปรียบคู่แข่งอยู่มากเลย ธุรกิจอื่นๆ ควรนำไปใช้อย่างยิ่งครับ...ดังนั้นผมสนับสนุนให้คนไทยทุกคนเอาข้อดีของแนวคิดการทำธุรกิจแบบสตาร์ทอัพ(Startup) ไปใช้งานจริงในทุกๆ ธุรกิจน่ะครับ และผมเชื่อว่าบางกลยุทธ์ทางธุรกิจฝั่งของ SME ก็เริ่มหันมามองเครื่องไม้เครื่องมือของฝั่งสตาร์ทอัพไม่มากก็น้อยแล้วครับในปัจจุบันนี้ 
ลามไปถึง Corporate บริษัทใหญ่ๆ ที่ปัจจุบันก็เริ่มที่จะให้ความสนใจกับแนวคิดของสตาร์ทอัพมากยิ่งขึ้น ไม่ใช่เพราะกลัวปลาเล็กจะมารุมกินปลาใหญ่น่ะครับ..แต่ไม่รู้ว่าปลาใหญ่จะว่ายไปในทิศทางไหนมากกว่า! อย่าลืมว่าทุกเทคโนโลยีในโลกนี้มัน Transfer กันได้ครับไม่ว่าจาก "ใหญ่มาเล็ก หรือเล็กไปใหญ่"  "ฝั่งตะวันออกมาตะวันตก"  หรือ "ฝั่งตะวันตกไปยังตะวันออก"...โลกนี้เชื่อมกันหมดแล้วครับ!  จากอดีตที่พูดถึงคำว่า "โลกาภิวัฒน์(Globalization) สู่ยุคของ(Disruption) ที่ทำลายล้างธุรกิจรูปแบบดั้งเดิมจนล้มหายสาปสูญไปด้วยธุรกิจรูปแบบใหม่ที่ไฉไลและตอบโจทย์กับชีวิตของผู้บริโภคได้รวดเร็วกว่าซึ่งเบื้องหลังมันก็คือการใช้เทคโนโลยีนั่นเอง! ลองทบทวนกันดูน่ะครับว่าอะไรที่มันทำให้เราเปลี่ยนแปลงไปบ้างตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันนี้  จากยุค 2G, 3G, 4G และในอนาคตปี 2020 ที่ทั่วโลกต่างรอคอยกับคำว่า 5G ซึ่งบางประเทศก็เริ่มเตรียมการเปลี่ยนแปลงโครงร่างหรือโครงสร้างของเทคโนโลยีเดิมเพื่อต้อนรับ 5G กันแล้วครับ


วันนี้ผมขอเขียนบทความเพียงเท่านี้ก่อนน่ะครับ และไม่ได้มีเจตนาพาดพิงถึงใครเพียงแต่ผมเห็นว่ามันน่าจะเป็นประโยชน์กับผู้อ่านทุกท่านที่สนใจแนวคิดของธุรกิจแบบ Startup และผู้ที่ทำธุรกิจอื่นก็น่าจะได้นำแนวคิดนี้ไปใช้ประโยชน์กันในธุรกิจไม่มากก็น้อย

ท้ายนี้ถ้าเห็นว่าบทความนี้เป็นประโยชน์ก็สามารถแชร์ได้ครับแล้ววันหลังผมจะมาเขียนให้ความรู้ทางด้านธุรกิจแบบสตาร์ทอัพ(Startup) อีกเผื่อทุกท่านจะได้นำมันไปปรับใช้กับธุรกิจที่ทุกคนทำอยู่ทั้งที่เป็นสตาร์ทอัพและไม่ได้เป็นสตาร์ทอัพก็ตาม...สุดท้ายผมก็หวังว่ามันสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ทั้งหมดล่ะครับ

****ติดตามผมต่อได้ที่เฟสบุ๊ค(Facebook) ส่วนตัวและแฟนเพจ(Facebook Fanpage) ตลอดจนช่อง          ยูทูป(YouTube) และ IG(อินสตาแกรม)  ที่ Link ด้านล่างนี้ได้เลยครับ...แล้วพบกันน่ะครับ^^

ปล. ผู้ที่ต้องการเป็น FC ของ อาจารย์อ๊ะสามารถทักมาที่ Line@ --> พิมพ์หา @ajarnah(มี@)  ได้เลยครับ หรือ แค่คลิ๊ก Link นี้ทัก FC มาได้เลยครับ https://line.me/R/ti/p/@ajarnah


1. Facebook Profile(เฟสบุ๊คส่วนตัว)  พิมพ์หา -->  วันพืช สร้อยระย้า 

2. Facebook Fanpage(แฟนเพจ)    พิมพ์หา -->  สอนธุรกิจให้คิดแบบ Startup


3. Youtube Channel(ช่องยูทูป)  พิมพ์หา -->  อาจารย์อ๊ะ Ajarn Ah 


4. Instagram(อินสตาแกรม)  พิมพ์หา -->   ajarn_ah 


แล้วพบกันน่ะครับ^^
See you soon! 

ธุรกิจขายตรงกับการจัดการ Supply Chain: ความสำเร็จที่ต้องอาศัยการจัดการที่ครอบคลุม โดย อาจารย์อ๊ะ-ที่ปรึกษา Startup สำหรับ SME

  ✅ธุรกิจขายตรงกับการจัดการ Supply Chain: ความสำเร็จที่ต้องอาศัยการจัดการที่ครอบคลุม 😊ธุรกิจขายตรง (Direct Selling) ยังคงเป็นหนึ่งในโมเดลธ...